สิทธิมนุษยชน

 

บริษัทฯ ให้ความสำคัญเสมอมาต่อการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยในการดำเนินธุรกิจย่อมมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย เช่น พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชน เป็นต้น ดังนั้น บริษัทฯ จึงตระหนักถึงผลกระทบของด้านสิทธิมนุษยชนที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานธุรกิจ และมีกลไกการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม สอดคล้องตามนโยบายที่มุ่งเน้นการปฏิบัติต่อพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน

 
 
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 
 
 

แนวทางการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน 

บริษัทฯ ยึดถือสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจสำคัญและเป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ให้ความเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ มีการกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนไปยังผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจัดทำแนวการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน มีแนวปฏิบัติเพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน  รวมทั้งบรรเทาความเสี่ยง ป้องกันเหตุการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ระดับคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการจัดการด้านความยั่งยืน คณะกรรมการปฏิบัติงานบรรษัทภิบาลและการพัฒนาด้านความยั่งยืน หน่วยงานบริหารความเสี่ยง ฝ่ายตรวจสอบภายใน จนถึงระดับปฏิบัติงาน ครอบคลุมทั้งองค์กร ส่งผลให้มีการดูแลและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งบริษัทฯ มีการตรวจประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ของทุกกิจกรรมและหน่วยงานขององค์กร ตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) สอดคล้องตามการเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) และการเยียวยา (Remedy) และหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization’s Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) เป็นกรอบในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง เฝ้าระวังและติดตามการประเมินที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อการบรรเทาความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

 

 

แนวปฏิบัติงาน

 

1.บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับสิทธิแรงงานทั้งภายในและภายนอก ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ที่สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศที่เป็นพื้นที่ตั้งของบริษัทฯ และพันธมิตรทางธุรกิจดำเนินการ ที่ครอบคลุมและระบุอยู่ในจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of conduct) นโยบายการจ้างงาน นโยบายการจ่ายค่าตอบแทน นโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม นโยบายการรับแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียน นโยบายความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางเพศ เป็นต้น

2.บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างทางเชื้อชาติ สัญชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ ภาษา อายุ สีผิว ความแตกต่างทางด้านร่างกาย ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อในลัทธิ ความคิดเห็นทางการเมือง การศึกษา และสถานภาพทางสังคม

3.บริษัท ส่งเสริมทางด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า เช่น พนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจ คู่ค้า แรงงานของ   คู่ค้า ผู้ให้บริการและผู้รับเหมา ลูกค้า ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

4.บริษัทฯ ไม่ใช้แรงงานเด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดและไม่ใช้แรงงานบังคับ ตลอดจนห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ

5.บริษัทฯ คำนึงถึงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่อแรงงานทั้งภายในและภายนอก บริษัทฯ แรงงานที่เข้ามาทำงานในสถานประกอบการ ตลอดจนความปลอดภัยของแรงงานในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ

6.บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมของการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และสะท้อนถึงศักยภาพการทำงานของพนักงานอย่างไม่เลือกปฏิบัติ การพิจารณาหาแนวทางการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน ตลอดจนขั้นตอนการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่ง

7.บริษัทฯ มีคณะกรรมการสวัสดิการที่มีบทบาทในการร่วมเจรจาต่อรองกับบริษัทฯ  กำหนดข้อตกลงที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน เช่น การร่วมหารือ การให้คำปรึกษา เสนอแนะทางด้านสวัสดิการของพนักงาน เป็นต้น

8.บริษัทฯ มีกลไกร้องเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ที่ครอบคลุมประเด็นทางด้านสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน จรรยาบรรณธุรกิจ และจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า

9.บริษัทฯ สนับสนุนการจ้างงานแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ได้แก่  ผู้พิการ  ผู้สูงอายุ  ผู้พ้นโทษ เพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ที่เป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศและทั่วโลก

10.บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการผลิตสินค้าและให้บริการอย่างมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า รวมถึงรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และการบริการของบริษัทฯ

11.บริษัทฯ ติดต่อสื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ และมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยยึดหลักจรรยาบรรณธุรกิจ จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า ให้ความเคารพในสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียม 

12.บริษัทฯ มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียน เพื่อรับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่รับเรื่อง รวบรวม และดำเนินการต่อ

13.บริษัทฯ มุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่น่าเชื่อถือสำหรับชุมชนและสังคมใกล้เคียงพื้นที่ตั้งของสถานประกอบการ ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังดำเนินการโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชน และสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนท้องถิ่น

14.บริษัทฯ มีกลไกการร้องเรียนที่เปิดให้สังคมและชุมชนภายนอกบริษัทฯ สามารถแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียนได้

 

เป้าหมาย

การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์

 

กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

 

รายงานการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 2565 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 

 

นอกจากนี้บริษัทฯ ได้ประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียจากการดำเนินงานและอาจเกิดจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยดำเนินการตามกระบวนการ ในการกำหนดขอบเขตการประเมินและการระบุประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ จะดำเนินการผ่านการทบทวนปัญหาสิทธิมนุษยชนจากกลุ่มธุรกิจเดียวกันและจากการวิเคราะห์ข้อมูลสื่อ โดยการระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงหรือมีโอกาสเกิดขึ้น พร้อมระบุผู้มีส่วนได้เสียและกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ เพื่อนำมาประเมินระดับความเสี่ยงของประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้และจัดลำดับความเสี่ยงของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่หลงเหลืออยู่ สำหรับการวางมาตรการดำเนินการเพื่อลดระดับความเสี่ยงดังกล่าว

เสรีภาพในการร่วมต่อรอง

บริษัทฯ เคารพสิทธิของพนักงานในการเข้าร่วมเจรจาต่อรอง เปิดโอกาสให้มีการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงานในการเจรจาเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานกับบริษัทฯ ผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการของแต่ละบริษัทฯ ซึ่งตัวแทนของพนักงานมาจากการเลือกตั้ง โดยพนักงานทั้งหมด 100% อยู่ภายใต้ข้อเจราจาต่อรองร่วมกัน

 

กลไกการรับข้อร้องเรียน

บริษัทฯ เปิดรับให้ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ แจ้งข้อมูล ให้เบาะแส ร้องเรียน ผ่านกลไกการรับข้อร้องเรียนของบริษัทฯ ผ่านช่องทางการรับแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียน เพื่อให้เข้าถึงผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยกำหนดมาตรการเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ร้องเรียน ผู้แจ้งเบาะแส ผู้ถูกร้องเรียน และผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียน รวมถึงมีมาตรการในการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดระยะเวลาในการจัดการข้อร้องเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียนเบื้องต้นและติดต่อกลับไปยังผู้ร้องเรียน กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน และมีการตรวจสอบแก้ไขปัญหา และแจ้งผลการดำเนินงานกลับสู่ผู้ร้องเรียน ร้องทุกข์ รวมไปถึงการกำหนดบทลงโทษของผู้กระทำความผิด 

 

ความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางเพศ

บริษัทฯ เคารพ ปฏิบัติตามกฎหมาย และให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางเพศ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ การไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ไม่ส่งเสริมการใช้ความรุนแรง การล่วงละเมิด และการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศทุกรูปแบบ ให้ความเคารพด้านสิทธิความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนควรได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่คำนึงถึงเพศโดยกำเนิด เพศสภาพ และอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคลนั้น

 
นโยบายความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 
 
 
 

ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

89% ของกรรมการบริษัทฯ ที่ได้รับการอบรมและผ่านการทดสอบด้านสิทธิมนุษยชน

88% ของผู้บริหารและพนักงานบริษัทฯ ที่ได้รับการอบรมและผ่านการทดสอบด้านสิทธิมนุษยชน

704 ชั่วโมงของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ที่เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชน  

100% ของพนักงานอยู่ภายใต้ข้อเจรจาต่อรองร่วมกัน 

ไม่พบการใช้แรงงานเด็กในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และคู่ค้า

พบเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชน 1 เหตุการณ์ 

 

กิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน

 

การส่งเสริมแนวหลักสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ตัวแทนบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ "จากหลักการสู่หลักปฏิบัติ WEPs Principles to Actions” กับ Women's Empowerment Principles (WEPs) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยทั่วทั้งระบบตลาดทุน โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนและห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทจดทะเบียน (value chains) ผ่านการส่งเสริมแนวทางที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชน