
การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
น้ำจัดเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ การดำรงชีวิต และการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากมีความสำคัญทั้งในด้านอุตสาหกรรม การเกษตร และกิจกรรมอื่น ๆ ของมนุษย์ ในปัจจุบันการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรน้ำ ทั้งภัยธรรมชาติ ส่งผลให้ฤดููกาลแปรปรวน ส่งผลต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำ (ภัยแล้ง) ปัญหาน้ำหลาก (น้ำท่วม) และปัญหาการเข้าถึงแหล่งน้ำ ซึ่งนับเป็นประเด็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น
ประเทศไทยจัดเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการในกิจกรรมทางธุรกิจและกิจกรรมของพนักงานบริษัทฯ จึงเป็นประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ ทั้งในด้านความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำสำหรับกระบวนการผลิต การเกิดน้ำท่วม การควบคุมคุณภาพน้ำก่อนระบายออกสู่ธรรมชาติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และชุมชนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว และการให้ความสำคัญแก่ทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน จึงมีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเป็นการตอบสนองเป้าหมายที่ 6 ของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เรื่อง “สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืนคน”
บริษัทฯ ดำเนินโครงการและแผนการบริหารจัดการน้ำมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงควบคุมคุณภาพน้ำก่อนปล่อยออกจากโรงงานให้สอดคล้องตามมาตรฐานการปล่อยน้ำทิ้งที่กฎหมายกำหนด และพัฒนากระบวนการนำน้ำเสียกลับมาใช้ซ้ำหรือลดการใช้น้ำ นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นสร้างเครือข่ายร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการน้ำทั้งระดับพื้นที่และระดับประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนตลอดจนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำอย่างยั่งยืน
เป้าหมาย
บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ดังนี้
เป้าหมายปี 2566 |
เป้าหมายระยะยาว |
1.ลดการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ 2.เพิ่มปริมาณน้ำกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีเดียวกัน |
1.ลดการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงร้อยละ 5 ภายในปี 2568 จากปีฐาน 2564 2.เพิ่มปริมาณน้ำกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 5 ภายในปี 2568 เมื่อเทียบกับปีเดียวกัน |
การบริหารจัดการน้ำ
1.กำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม และตั้งเป้าหมายลดการใช้ทรัพยากรน้ำทั้งระยะสั้นและระยะยาว
2.จัดทำแผนภูมิกระบวนการ (Process Flow Diagram) และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพน้ำเข้าและคุณภาพน้ำออก ตรวจวัดการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการวางแผนระบบเปิดปิดน้ำอัตโนมัติ
3.ศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวจาก World Resources Institute รวมถึงนำเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการวางแผนบริหารจัดการน้ำ เช่น การวิเคราห์ความเครียดน้ำ (Water Stress) ในพื้นที่โรงงาน เพื่อวางแผนการจัดการน้ำได้อย่างเหมาะสม
4.ตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุดหรือก่อให้เกิดการสูญเสียน้ำโดยไม่จำเป็น โดยยึดตามหลัก 5Rs กล่าวคือ Reduce, Reuse, Recycle, Refuse และ Renewable
5.จัดทำโครงการต่างๆ อาทิ ดำเนินการนำน้ำฝนมาใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทในช่วงฤดูฝนเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการใช้น้ำ
6.จัดเตรียมพื้นที่กักเก็บน้ำประปาสำรองในบริเวณพื้นที่โรงงาน เพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านภัยแล้ง และยังเป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพผ่านโครงการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Water Reuse)
การบริหารจัดการน้ำทิ้ง
บริษัทฯ ติดตามและเฝ้าระวังการปล่อยน้ำเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยกำหนดนโยบายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม หรือแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีพารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง อาทิ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (Chemical Oxygen Demand: COD) ปริมาณความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (Biological Oxygen Demand: BOD) ปริมาณสารแขวนลอย (Total Suspended Solid: TSS) น้ำมัน ไขมัน โลหะหนัก เช่น ปรอท (Hg) สารหนู (As) เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการตรวจวัดคุณภาพของการระบายน้ำทิ้งทุกวัน เพื่อติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
แนวทางและมาตรการในการบริหารจัดการน้ำทิ้งและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
1.หมั่นทำความสะอาดและเฝ้าระวังบริเวณที่อาจเกิดการรั่วไหลหรือมีความเสี่ยงในการใช้สารเคมีต่างๆ ขณะที่มีการใช้งาน
2.จัดเตรียมวัสดุดูดซับสารเคมีไว้ในจุดบริเวณใกล้เคียงที่มีการใช้สารเคมีพร้อมเพิ่มถังขยะอันตราย เพื่อรองรับขยะอันตรายในสถานการณ์ฉุกเฉิน
3.จัดอบรมให้ความรู้ OPL (ONE POINT LESSON) หัวข้อ การระงับเหตุรั่วไหลฉุกเฉินให้กับพนักงานและพนักงานเริ่มงานใหม่ ประจำทุกไตรมาส เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการระงับเหตุรั่วไหลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยตั้งเป้าหมายการเข้าร่วมการอบรมของพนักงานร้อยละ 100 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
การวิเคราะห์ความตึงเครียดของน้ำ
จากผลวิเคราะห์ความตึงเครียดน้ำของสถาบันทรัพยากรโลก (World Resource Institute: WRI, Aqueduct Water Risk Atlas and the WWF : Physical Risk Quality, Water Stress Filter) พบว่า ระดับความตึงเครียดของแหล่งน้ำในพื้นที่ของโรงงาน พบว่ามีความตึงเครียดของน้ำในระดับร้อยละ 40-80 (สูง) และพบว่าปัญหาการแย่งชิงน้ำและการขาดแคลนน้ำเท่ากับ 0
ตารางแสดงระดับความตึงเครียดของน้ำ
สถานที่ |
ต่ำ |
ปานกลางค่อนข้างต่ำ |
ปานกลางค่อนข้างสูง |
สูง |
สูงมาก |
(<10%) |
(10-20%) |
(20-40%) |
(40-80%) |
(>80%) |
|
โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง |
- |
- |
- |
x |
- |
โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 |
- |
- |
- |
x |
- |
อ้างอิง: https://www.wri.org/applications/aqueduct/water-risk-atlas
ตารางแสดงปริมาณการใช้น้ำกับสัดส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ตามระดับความตึงเครียดของแหล่งน้ำ
สถานที่ |
ระดับความตึงเครียดของน้ำ |
ปริมาณการใช้น้ำ(ลูกบาศก์เมตร) |
ปริมาณการผลิต(ตัน) |
ปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยการผลิต(ลบ.ม./ตัน) |
โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง |
สูง (40-80%) |
226,432 |
102,763 |
2.20 |
โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 |
สูง (40-80%) |
45,731 |
43,405 |
1.05 |
หมายเหตุ:
มาตรการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (Corporate Water Stewardship)
บริษัทฯ ดำเนินการกำหนดมาตรการรับมือกับระดับความตึงเครียดของน้ำ ดังต่อไปนี้
- จัดทำแผนภูมิกระบวนการ (Process Flow Diagram) และวิเคราะห์ข้อมูลของคุณภาพน้ำเข้าและน้ำออก และตรวจวัดการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการวางระบบเปิด-ปิดน้ำอัตโนมัติ และระบบตรวจติดตามการใช้น้ำอัตโนมัติ
- มีการประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่การประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการของ World Resource Intitule (WRI) เพื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านน้ำต่อการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทฯ ในประเทศไทย
โดยพบว่า ความตึงเครียดของน้ำในพื้นที่ของโรงงานมีระดับร้อยละ 40-80 (สูง) ดังนั้นบริษัทฯ จึงกำหนดมาตรการดูแลและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์โดยยึดตามหลัก 5Rs โดยการลดการใช้นํ้าโดยการใช้เท่าที่จำเป็น การนำน้ำกลับมาใช้ซํ้าให้คุ้มค่ามากที่สุด ลดและเลิกใช้สารเคมีอันตรายที่ก่อให้เกิดน้ำเสียปนเปื้อน รวมถึงการนำนํ้าเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาปรับปรุงคุณภาพและนำกลับไปใช้ใหม่ และจัดทำโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการใช้น้ำ โดยการกำหนดมาตรการบริหารจัดการน้ำในการดำเนินกิจการ ประกอบด้วย
1.การนำหลัก 5Rs มาใช้ในกระบวนการซ่อมบำรุง รวมถึงการวางแผนการซ่อมบำรุง การสำรวจจุดรั่วซึมของระบบท่อในโรงงาน และตรวจสภาพของระบบการจ่ายน้ำในกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานเพื่อการลดการสูญเสียน้ำในกระบวนการผลิต
2.มีการการสื่อสาร หลัก 5Rs สอดคล้องแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายในโรงงาน เพื่อลดการสูญเสียน้ำในกระบวนการผลิต
3.การจัดเตรียมพื้นที่กักเก็บน้ำประปาสำรองในบริเวณพื้นที่โรงงาน ปริมาณรวม 1,400 ลูกบาศก์เมตร และมีกระบวนการตรวจสอบปริมาณน้ำสำรองทุกสัปดาห์
4.โครงการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ บ่อกักเก็บน้ำฝน ขนาด 10,000 ลูกบาศก์เมตร เพิ่มการใช้แหล่งน้ำทางเลือก เพื่อลดการใช้น้ำ ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 รวมทั้งสำรองสำหรับการดับเพลิงหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เป็นต้น
5.โครงการถังกรองกักเก็บบริเวณผิวน้ำ มาใช้ในการกรองน้ำจากอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิขนาด 0.16 ลูกบาศก์เมตร และนำน้ำกรองแล้วหมุนเวียนมาใช้ซ้ำ ซึ่งสามารถลดการใช้น้ำลง เป็นต้น
6.โครงการการหมุนเวียนน้ำชนิด Brine Water ที่ผ่านการใช้งานในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ในระบบระบายความร้อน (Cooling System) ของเครื่องจักร
7.โครงการลดการใช้น้ำในระบบทำความเย็น โดยการติดตั้งระบบทำความเย็นใหม่ที่ใช้การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Chiller) แทนระบบเดิมที่ใช้น้ำ
ผลการดำเนินงาน
ตารางแสดงแหล่งน้ำใช้
สถานที่ |
ซื้อน้ำจาก |
แหล่งน้ำ1 |
ปริมาณการซื้อน้ำ |
ความแตกต่าง |
|
2566 |
2565 |
(%) |
|||
โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง |
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
น้ำประปาจากแม่น้ำบางปะกง |
226,432 |
239,907 |
6 |
โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 |
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
45,731 |
- |
- |
หมายเหตุ :
ตารางแสดงปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์และปริมาณการนำน้ำหมุนเวียนกลับมาใช้
สถานที่ |
รายละเอียด |
ค่าเป้าหมาย(เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า) |
2566 |
2565 |
โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง |
ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์(ลูกบาศก์เมตรต่อตัน) |
1% |
2.20 |
1.45 |
ปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีเดียวกัน(%) |
1% |
63.34 |
5.0 |
|
โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 |
ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์(ลูกบาศก์เมตรต่อตัน) |
1% |
1.05 |
- |
ปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีเดียวกัน(%) |
1% |
25.33 |
- |
หมายเหตุ: ข้อมูลทั้งพื้นที่โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 จังหวัดชลบุรี
ในปี 2566บริษัทฯ มีอัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเท่ากับ 226,432ลูกบาศก์เมตรต่อตันการผลิต ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2565 และมีปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนจำนวน 143,416ลูกบาศก์เมตร หรือเท่ากับร้อยละ 63.34 เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีเดียวกัน โดยมาจากปริมาณน้ำหมุนเวียนในระบบระบายความร้อนของเครื่องจักร และโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 เท่ากับ 45,731ลูกบาศก์เมตร และ ปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนจำนวน 11,585 ลูกบาศก์เมตร
บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการใช้น้ำและการเพิ่มการใช้น้ำหมุนเวียน ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการใช้ปริมาณน้ำจากการกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในกิจกรรมธุรกิจของบริษัทฯ คาดว่าจะดำเนินการลดปริมาณการใช้น้ำในปี 2567 ได้อย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูฝน
ตารางแสดงปริมาณการปล่อยน้ำทิ้ง
รายการ |
หน่วย |
ผลการดำเนินการปี 2566 |
ค่าความเป็นกรดด่าง |
- |
6.64 |
ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ |
mg/L |
312.58 |
ปริมาณสารแขวนลอย |
mg/L |
73.96 |
ปริมาณความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี |
mg/L |
93.46 |
ในปี 2566 พบว่าค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (COD)และปริมาณสารแขวนลอย (SS) และปริมาณความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (BOD)สอดคล้องกับมาตรฐาน
โครงการการบริหารจัดการน้ำ
โครงการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Water Reuse)
ในปี 2566 บริษัทฯ ริเริ่มใช้บ่อกักเก็บน้ำฝน ขนาด 10,000 ลูกบาศก์เมตร ในช่วงฤดูฝนโดยมีระบบการกรองเศษขยะหรือใบไม้ก่อนนำเข้าสู่ถังเก็บ เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆในสาธารณูปโภค ซึ่งหลังจากการเริ่มโครงการบริษัทฯสามารถลดการใช้น้ำประปาลงได้ ประมาณ 21,114 ลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือประมาณ 500,000 บาทต่อปี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5.4 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
โครงการถังกรองกักเก็บบริเวณผิวน้ำ (Skimming Tank)
ในปี 2566 บริษัทฯ มีแผนติดตั้งถังกรองกักเก็บบริเวณผิวน้ำ (Skimming Tank) ซึ่งมี ถ่านกัมมันต์ช่วยในการกรอง กักเก็บสิ่งสปรกบริเวณผิวน้ำ และกำจัดออก โดย ถ่านกัมมันต์มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับสูง จากโครงสร้างที่มีรูพรุนขนาดเล็กจํานวนมาก ช่วยให้สามารถดูดซับและกักเก็บสิ่งสปรกและช่วยบำบัดน้ำให้สะอาด หลังจากการใช้งาน ถ่านกัมมันต์ที่มีสิ่งสกปรก จะผ่านกระบวนการล้างย้อน เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้งานซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน ถ่านกัมมันต์จะถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป
บริษัทฯ วางแผนที่จะนำถังกรองน้ำ (Skimming Tank) มากรองน้ำเสียจากอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ เนื่องจากมีการปนเปื้อนจากการควบคุมอุณหภูมิ และมีการปล่อยน้ำทิ้งจากการปนเปื้อนเพื่อส่งไปบำบัดต่อไป ส่งผลให้มีการเติมน้ำความบริสุทธิ์สูง เข้าสู่อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ ดังนั้นเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำจาก น้ำความบริสุทธิ์สูง ที่ใช้ในกระบวนการผลิต จีงใช้ระบบดังกล่าวในการลดการใช้น้ำความบริสุทธิ์สูง ลงประมาณ 18,250 ลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือคิดเป็นเงินประมาณ 529,250 บาทต่อปี และยังสามารถบำบัดน้ำขั้นต้นก่อนปล่อยลงสู่กระบวนการถัดไป