ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ

 

คลิกเพื่อดูรายละเอียด ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ 

 

 

การบริหารการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนได้เสีย

 

     บริษัทฯ มีการทบทวนประเด็นสาระสำคัญของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอก มีการพิจารณาประเด็นสาระสำคัญครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงในระดับสากลและคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งทิศทางความยั่งยืนในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในหมวดธุรกิจ โดยใช้แนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (GRI Standards)  หลักการและเครื่องมือการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement Standard : AA1000SES) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ ได้แก่ ความครอบคลุมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Inclusivity) การประเมินประเด็นสำคัญ (Materiality) การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Responsiveness) หลักการดังกล่าวได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริหารงานอย่างมีจรรยาบรรณ (Governance) มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน (Strategy) และมีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ (Operations)

 

ภาพแสดงการบูรณาการหลักการ AA1000SES

กับการบริหารการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  

 

 

ขั้นตอนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

1. การวางแผนระบุผู้มีส่วนได้เสีย (Identification key stakeholders)

     บริษัทฯ ทำความเข้าใจผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม โดยดูจากความรู้ในประเด็นความสำคัญ ความคาดหวังในการมีส่วนร่วม ความสัมพันธ์กับบริษัทฯ ระดับความมีอิทธิพล ภูมิศาสตร์ บริบทองค์กร โดยกำหนดระดับการมีส่วนร่วมและวิธีการสื่อสารโดยพิจารณาจากลักษณะและขอบเขตความมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

 

ตารางแสดงผลกระทบและอิทธิพลของผู้มีส่วนได้เสีย

 

2. วางแผนการดำเนินงาน (Preparation)

     บริษัทฯ วางแผนการดำเนินงานโดยพิจารณาการบริหารทรัพยากรและการดำเนินงานร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสมและให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน (Engagement plan implementation)

     บริษัทฯ กำหนดแผนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยแจ้งถึงวัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วม ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ นโยบายที่สำคัญของบริษัท ดำเนินการมีส่วนร่วมและพัฒนาแผนการดำเนินงานการมีส่วนรวมกับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ

4. ทบทวนอย่างสม่ำเสมอและปรับปรุงการดำเนินงาน (Reviewing and Improvement)

    บริษัทฯ ดำเนินการทบทวนแผลการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีการปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของบริษัทฯ

 

ตารางแสดงความต้องการและการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย