
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
การดำเนินธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย ความเสี่ยง รวมทั้งโอกาสต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามระหว่างประเทศรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลต่อความผันผวนทางด้านวัตถุดิบของบริษัทฯ และส่งผลต่อราคาของวัตถุดิบ ซึ่งการบริหารจัดการวัตถุดิบของบริษัทฯ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารห่วงโซ่อุปทานของการประกอบกิจการที่มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าของบริษัทฯ จึงควรมีการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบและคำนึงถึงด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อาทิ การเคารพสิทธิมนุษยชน การบริหารนวัตกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Products)การต่อต้านทุจริต และคอร์รัปชัน เป็นต้น ซึ่งรวมถึงการคำนึงถึงจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้า สอดคล้องกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs) ในเป้าหมายที่ 9 และ 16
นโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ โปร่งใส เป็นธรรม และคำนึงถึงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งแต่การสรรหาคู่ค้า การคัดเลือกคู่ค้ามีศักยภาพทางด้านคุณภาพ ราคา ความคุ้มค่า การให้บริการ ความต่อเนื่องทางธุรกิจและความยั่งยืน ตลอดจนศักยภาพการทำงานของคู่ค้าร่วมกันกับบริษัทฯ และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมเป็นสำคัญ สนับสนุนและส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างภายในประเทศและมีจริยธรรม อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง โปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีความรับผิดชอบต่อสินค้าและการให้บริการ ส่งมอบสินค้าและบริการตามเวลาที่กำหนด
ดูรายละเอียดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง เพิ่มเติม
นโยบายการชำระหนี้

วิสัยทัศน์ ปี พ.ศ. 2566 - 2568
เป้าหมาย
กลยุทธ์ด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ด้านห่วงโซ่อุปทานเพื่อยกระดับการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน สอดคล้องกับนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าของบริษัทฯ โดยการดำเนินธุรกิจด้วยการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องตามกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืนของบริษัทฯ บริษัทฯ มุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับการแข่งขันและตอบสนองความต้องการของลูกค้า ดังนี้
1. การยกระดับเป็นการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว และพัฒนานวัตกรรมเพื่อวัตถุดิบคุณภาพสูง
การจัดซื้อจัดจ้างและจัดหาเม็ดพลาสติกที่มีคุณภาพ มาจากแหล่งที่มีคุณภาพ รวมทั้งร่วมพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบร่วมกับ คู่ค้า คู่ธุรกิจ และอาจต่อเนื่องไปถึงลูกค้าของบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
2. การบริหารความเสี่ยง
เนื่องจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลให้เกิดความผันผวนต่อต้นทุนการผลิตเม็ดพลาสติก และการทุ่มตลาดจากต่างประเทศที่มีกำลังการผลิตมากเกินความต้องการภายในประเทศ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผลิตภัณฑ์ หน่วยงานบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการและแผนบรรเทาความเสี่ยง รวมทั้งเฝ้าติดตามความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบริการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์คู่ค้า ทั้งคู่ค้าหลักและคู่ค้าทางตรงอื่นๆ ประเมินความเสี่ยง ที่ครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ และมีมาตรการลดความเสี่ยงคู่ค้าหลักและคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง ควบคุมไปพร้อมกัน
3. การบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการติดตามความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีมาตรการบรรเทาความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ และการ บริหารจัดการความผันผวนของราคาวัตถุดิบและการขาดแคลนของวัตถุดิบอย่างใกล้ชิด เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
4. การจัดหาวัตถุดิบที่คำนึงถึงจริยธรรม ความเท่าเทียม และเคารพถึงสิทธิมนุษยชน
สนับสนุนและส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีจริยธรรม ดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง โปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เคารพในทรัพย์สินทางปัญญา ปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทฯ รวมถึงร่วมต่อต้านการทุจริต และคอร์รัปชัน อีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการเคารพสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองแรงงาน การไม่เลือกปฏิบัติ ไม่กำหนดเรื่อง เชื้อชาติ สัญชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ ภาษา อายุ สีผิว ความแตกต่างทางด้านร่างกาย ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อในลัทธิ ความคิดเห็นทางการเมือง การศึกษา และสถานภาพทางสังคม มาเป็นตัวกำหนดความน่าเชื่อถือของบริษัทคู่ค้าและมีผลต่อการตัดสินใจในการทำธุรกิจร่วมกัน รวมทั้ง การไม่บังคับใช้แรงงาน การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงาน รวมทั้ง สภาพแวดล้อมในการทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ
5. การบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)
การเพิ่มขีดความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภาพรวมของบริษัทฯ การผนวกการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล(ESG) เป็นสิ่งสำคัญและเป็นรากฐานในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่อุปทานจะเป็นการสร้างขีดความสามารถและประสิทธิภาพในวงกว้าง สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นและผลักดันการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานให้ได้มากที่สุด และดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง
แผนการบริหารห่วงโซ่อุปทาน
แผนการประเมินคู่ค้า
เพื่อประเมินความเสี่ยงและร่วมสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนในการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผ่านกระบวนการประเมินความเสี่ยงที่สอดคล้องทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG)
กระบวนการประเมินคู่ค้าใหม่และคู่ค้าปัจจุบัน
การคัดเลือกคู่ค้าใหม่
บริษัทฯ คัดเลือกคู่ค้าใหม่ (Supplier Selection)โดยฝ่ายจัดซื้อทำการตรวจเช็คและตรวจสอบข้อมูลบริษัทเบื้องต้นแล้ว พบว่ามีแนวโน้มที่สามารถเป็นคู่ค้ารายใหม่ของบริษัทฯ มีความน่าเชื่อถือ และมีนโยบาย แนวปฏิบัติสอดคล้องกับบริษัทฯ รวมทั้งคัดกรองบริษัทคู่ค้าตามเกณฑ์ต่างๆ ของบริษัทฯ สอดคล้องด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ (บรรษัทภิบาล) เพื่อวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น
การคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นคู่ค้าใหม่
บริษัทฯ มุ่งมั่นและผลักดันให้คู่ค้าใหม่ได้ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงบรรษัทภิบาล ผ่านการประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง และเป็นการคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นของบริษัทฯ เพื่อการพิจาณา ตรวจเช็ค และตรวจสอบคู่ค้าใหม่ โดยคู่ค้าใหม่ที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้น ควรได้คะแนนไม่ต่ำร้อยละ 50 ถึงจะผ่านการคัดกรองความเสี่ยงและได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียนคู่ค้าใหม่และนำเข้าสู่ระบบของบริษัทฯ ต่อไป
ขั้นตอนการคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นของคู่ค้าใหม่
เกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้าใหม่
การจัดลำดับและการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า
บริษัทฯ มีการจำแนก วิเคราะห์ จัดลำดับ และประเมินความเสี่ยงคู่ค้ารวมทั้งการวิเคราะห์ความสำคัญของคู่ค้า และจำแนกคู่ค้าหลักและคู่ค้าทางตรง อีกทั้งการบูรณาการการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลเป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยง เพื่อติดตามและบรรเทาความเสี่ยงคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง สร้างการเติบโตและขีดจำกัดให้กับบริษัทคู่ค้าอย่างยั่งยืน
การจัดลำดับคู่ค้า
บริษัทฯ กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มประเภทคู่ค้า โดยสามารถวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นระบบ และนำไปเป็นข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้า ดังนี้
1. คู่ค้าหลัก (Critical Tier 1 Suppliers)
คู่ค้าที่มีการซื้อขายสม่ำเสมอและมียอดมูลค่าการสั่งซื้อสูง เป็นคู่ค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าทดแทนยากและอยู่ในกลุ่มสินค้าหรือบริการที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ มีผู้เล่นในตลาดน้อยราย โดยบริษัทฯ มีการดำเนินการประเมินคู่ค้ากลุ่มนี้ผ่านทางแบบประเมินตนเองรายปีของคู่ค้า (Self-assessment) ในลักษณะของ Pre-Qualification Questionnaire เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพ และ/หรือมีการเยี่ยมชมพื้นที่ (On-site visit) โดยอ้างอิงกับการประเมินคู่ค้ารายเดือนของฝ่ายจัดซื้อ
2. คู่ค้ารอง (Non-Critical Tier 1 Suppliers)
คู่ค้าที่มียอดการใช้งานปานกลางหรือมียอดมูลค่าการสั่งซื้อปานกลางถึงต่ำ มีผู้เล่นในตลาดจำนวนเพียงพอหรือเกินพอ โดยบริษัทฯ มีการดำเนินการประเมินคู่ค้ากลุ่มนี้ผ่านทางแบบประเมินตนเองของคู่ค้า (Self-assessment) ในลักษณะของ Pre-Qualification Questionnaire และ/หรือการเยี่ยมชมพื้นที่ (On-site visit) ตามความเหมาะสม อ้างอิงกับการประเมินคู่ค้ารายเดือนของฝ่ายจัดซื้อ
3. คู่ค้าโดยตรง (Tier 1 Suppliers)
คู่ค้าที่มีการซื้อขายอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้าของบริษัทฯ มีรายละเอียดข้อมูลอยู่ในระบบบริหารจัดการของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ มีการดำเนินการประเมินคู่ค้ากลุ่มนี้ผ่านทางแบบประเมินตนเองของคู่ค้า (Self-assessment) ในลักษณะของ Pre-Qualification Questionnaire และ/หรือการเยี่ยมชมพื้นที่ (On-site visit) ตามความเหมาะสม อ้างอิงกับการประเมินคู่ค้ารายเดือนของฝ่ายจัดซื้อ
ขั้นตอนจัดลำดับคู่ค้า
การประเมินความเสี่ยงคู่ค้า
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารห่วงโซ่อุปทาน คำนึงถึงความเสี่ยงและโอกาสต่าง ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามระหว่างประเทศรัสเซีย-ยูเครน ความผันผวนด้านวัตถุดิบ ราคาของวัตถุดิบ ซึ่งการบริหารจัดการวัตถุดิบ การประเมินความเสี่ยงคู่ค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังความเสี่ยงต่างๆ รวมทั้งแสวงหาโอกาสต่างๆ ที่อาจเป็นการเพิ่มความสามารถและขีดจำกัดของบริษัทฯ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ กำหนดเกณฑ์ในการระบุและประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า ทั้งความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงด้านสังคม เพื่อการยกระดับและพัฒนาคู่ค้าของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะระบุความเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินโอกาสที่อาจเกิดขึ้นของเหตุการณ์ (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)
กระบวนการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า
การระบุความเสี่ยงคู่ค้า
บริษัทฯ ระบุความเสี่ยงของคู่ค้า โดยคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยง อ้างอิงจากข้อมูลการประเมินตนเองของคู่ค้า (Self-Assessment) ซึ่งมีปัจจัยความเสี่ยงทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้
การตรวจประเมินและเข้าเยี่ยมคู่ค้ารายปี
การตรวจประเมินและเข้าเยี่ยมลูกค้าของบริษัทฯ จะดำเนินการกับคู่ค้าหลักและคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงก่อน และจะดำเนินการเข้าเยี่ยมคู่ค้าโดยตรงรายอื่นต่อไป และเมื่อเข้าเยี่ยมการตรวจประเมินคู่ค้าแล้ว ทางคู่ค้าจะต้องแจ้งกลับแผนและแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและคำขอให้ดำเนินการแก้ไข (Corrective Action Request) ที่ได้รับแก่บริษัทฯ
ขั้นตอนการตรวจประเมินและเข้าเยี่ยมคู่ค้า
ผลการดำเนินงาน
การคัดเลือกคู่ค้าใหม่

การจัดลำดับคู่ค้า
จากการจำแนกคู่ค้าที่มีสินค้าทดแทนยากและอยู่ในกลุ่มสินค้าหรือบริการที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ มีผู้เล่นในตลาดน้อยราย รวมทั้งวิเคราะห์ยอดการซื้อขายคู่ค้าที่มียอดสูงสุดในกลุ่มดังกล่าว สามารถจำแนกกลุ่มของคู่ค้าที่มีความสำคัญต่อการผลิตและผลิตภัณฑ์ ดังนี้
- คู่ค้าวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก PP PET PA และสารเติมแต่ง)
- คู่ค้าบรรจุภัณฑ์
- ผู้ผลิตเครื่องจักรและอะไหล่ต่างๆ
สามารถจัดลำดับคู่ค้าของบริษัทฯ ดังนี้
การประเมินความเสี่ยงคู่ค้า
การรับทราบและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
โครงการร่วมกับคู่ค้าของบริษัทฯ
การยกระดับความสามารถอย่างยั่งยืนของคู่ค้าและคู่ธุรกิจ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของคู่ค้า ผ่านการจัดทำโครงการเพื่อยกระดับศักยภาพของคู่ค้า โดยมีแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานการบริหารจัดการวัตถุดิบอย่างยั่งยืน เพื่อให้บริษัทฯ สามารถคงไว้ซึ่งมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ และได้รับวัตถุดิบที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องจากคู่ค้า เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม
โครงการอบรมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้รับเหมา
โครงการยกระดับทำปฏิบัติงานของผู้รับเหมาในพื้นที่ของบริษัทฯ อย่างปลอดภัย และสามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุภายในพื้นที่โรงงาน
โครงการยกระดับทักษะและความเชี่ยวชาญของผู้รับเหมา
โครงการอบรมในด้านทำงานกับความร้อนและประกายไฟให้กับผู้รับเหมา โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานกับความร้อนและประกายไฟให้กับผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นของบริษัทฯ เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและอัคคีภัย
โครงการพัฒนาฟิล์มพลาสติก PCR-BOPA ร่วมกับเครือบริษัทบีเอเอสเอฟ
การผลิตฟิล์มพลาสติก BOPA จากเม็ดพลาสติกที่ใช้แล้ว ซึ่งมาจาก Mixed Plastic Waste ผ่านกระบวนการไพโรไรชิส หมุนเวียนกลับมาเป็นเม็ดพลาสติกซึ่งสามารถช่วยลดการใช้วัตถุดิบฟอสซิลลง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รายละเอียดเพิ่มเติมที่หัวข้อ การบริหารนวัตกรรม
การสร้างมูลค่าเพิ่มและการหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ
โครงการหมุนเวียนกรวยพลาสติก
บริษัทฯ ร่วมมือกับคู่ค้า บริษัท วรินพลาสติกในการพัฒนากรวยพลาสติกจากพลาสติกเหลือจากกระบวนการผลิตของบริษัทฯ ส่งให้คู่ค้าผลิตกรวยพลาสติก และหมุนเวียนส่งกลับมาให้บริษัทฯ ใช้งานเป็นบรรจุภัณฑ์ ซึ่งช่วยลตการใช้วัตถุติบจากฟอสซิลลง 458 ตัน คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 1,509 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
โครงการสายรัดจากพลาสติกที่เหลือจากกระบวนการผลิต
บริษัทฯ ร่วมมือกับคู่ค้าในการพัฒนาสายรัดพลาสติกจากพลาสติกเหลือจากกระบวนการผลิตของบริษัทฯ ส่งให้คู่ค้าผลิตกรวยพลาสติกและหมุนเวียนส่งกลับมาให้บริษัทฯใช้งานเป็นบรรจุภัณฑ์
สรุปภาพรวมโครงการและความร่วมมือต่าง ๆ กับคู่ค้า ผู้ให้บริการ และพันธมิตรทางธุรกิจ