การบริหารจัดการของเสีย

 

     

      การบริหารจัดการของเสียเป็นประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ เนื่องจากบริษัทฯ ตระหนักว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มีส่วนอาจก่อให้เกิดขยะจากการบริโภคและอุปโภค และการจัดการของเสียด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสมจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งเน้นตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบ ลดของเสียจากกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับของผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ สู่มาตรฐานระดับประเทศและมุ่งเน้นให้ตอบโจทย์มาตรฐานสากล ตามแนวทางบริหารจัดการขยะของบริษัทเพื่อตอบสนองเป้าหมายความยั่งยืน โดยเฉพาะการสนับสนุนเป้าหมายที่ 11 ในด้านลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการจัดการของเสีย และเป้าหมายที่ 12 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียโดยกระบวนการ 5Rs (Refuse, Reduce, Reuse, Recycle และ Renewable) สอดคล้องแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

แนวทางการบริหารจัดการของเสีย

      บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการของเสีย รวมถึงคำนึงผลกระทบของชุมชนที่อยู่โดยรอบ เพื่่อป้องกันผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจอย่างรอบด้าน โดยผ่านการบริการจัดการครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล และดำเนินการตามนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้คณะกรรมการปฏิบัติงานบรรษัทภิบาลและการพัฒนาความยั่งยืนดำเนินการ และส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการของเสียผ่านโครงการต่าง ๆ ในการควบคุมการจัดการของเสียเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

     นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีนวัตกรรมในการผลิตฟิล์มพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2 ผลิตภัณฑ์ ที่ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบหมุนเวียน ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าสูงสุด คือ ฟิล์มพลาสติกจากวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือ Post-Consumer Recycled Film (PCR Film) และฟิล์มพลาสติกจากวัสดุเหลือจากกระบวนการผลิตภายในบริษัทฯ หรือ Post-Industrial Recycled Film(PIR Film)ซึ่งสามารถลดปริมาณของเสียของบริษัทฯ และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

    

เป้าหมายการบริหารจัดการขยะและผลการดำเนินงาน ประจำปี 2566

รายละเอียด

เป้าหมายการดำเนินงานปี2566

ผลการดำเนินงานปี 2566

เป้าหมาย

ปี 2567

เป้าหมายระยะยาว ปี 2568

ปริมาณ (ตัน)

ร้อยละ

อัตราการใช้เม็ดพลาสติกจากวัตถุดิบรีไซเคิลและวัสดุธรรมชาติ

20%

58,691

40 %

20%

-

การลดปริมาณของเสียทั่วไปที่ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ

50%

121

เพิ่มขึ้น 100%

≤ 10 ตัน/เดือน

80%

การลดปริมาณของเสียอันตราย

10%

236

เพิ่มขึ้น 18%

≤ 22 ตัน/เดือน

-

จำนวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

1 ผลิตภัณฑ์ใหม่

14 ผลิตภัณฑ์ต่อปี

1 ผลิตภัณฑ์ใหม่

-


        ในปี 2566 พบว่าบริษัทฯ มีอัตราการใช้เม็ดพลาสติกจากวัตถุดิบรีไซเคิลและวัสดุธรรมชาติเท่ากับ 58,691 ตัน คิดเป็นร้อยละ 40  นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีปริมาณของเสียทั่วไปและปริมาณขยะอันตรายที่ต้องนำไปกำจัดเท่ากับ 121 และ 236 ตัน  ซึ่งผลการดำเนินการเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 100 และ 18 เนื่องจากมีการขยายฐานการผลิตของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 ส่งผลให้มีปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนหน้า ซึ่งจากผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่าอัตราการใช้เม็ดพลาสติกจากวัตถุดิบรีไซเคิลและวัสดุธรรมชาติ  การลดปริมาณของเสียทั่วไปที่ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ และการลดปริมาณของเสียอันตราย ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายปี 2566 ที่ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวนทั้งสิ้น 14 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งบรรุลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

โครงการการบริหารจัดการขยะ

โครงการรีไซเคิลเศษพลาสติกโดยตรง (Direct Flake Dosing: DFD)

      บริษัทฯ จัดทำโครงการรีไซเคิลเศษพลาสติกโดยตรง สามารถลดกระบวนการนำเศษพลาสติกไปหลอมและลดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถลดการใช้วัตถุดิบจากฟอสซิลได้ 723.75 ตันคิดเป็น 27.5 ล้านบาท และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,362 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง 9 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 39 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 19,499 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการพัฒนาเม็ดพลาสติกจากวัตถุดิบจากกระบวนการผลิตร่วมกับคู่ค้า

      บริษัทฯคำนึงถึงหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน และหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งนำของเหลือจากกระบวนการผลิต ส่งให้กับทางคู่ค้า และทางคู่ค้าจะดำเนินการผลิตเม็ดพลาสติกส่งกลับมาให้ เพื่อนำมาใช้ผลิตฟิล์มพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถลดการใช้วัตถุดิบจากฟอสซิลได้ 1,158.85  ตัน คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 2,180  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการนำเศษอาหารไปเป็นอาหารปลา

      บริษัทฯ ได้ดำเนินการคัดแยกนำเศษอาหารมาเป็นอาหารให้ปลาในบ่อ ที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งสามารถลดการนำเศษอาหารไปกำจัด 28.8 ตัน หรือร้อยละ 23.89 ของปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบ คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าวเรือนกระจก 3 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการปรับปรุงลดความหนาของแผ่นผ้าที่ใช้ดูดซับน้ำมันและสารเคมีในกระบวนการผลิต

      บริษัทฯ จัดทำโครงการโครงการปรับปรุงลดความหนาของแผ่นผ้าที่ใช้ดูดซับน้ำมันและสารเคมีในกระบวนการผลิตเป็นโครงการที่นำแผ่นผ้าที่ใช้แล้วมาลดความหนาในส่วนที่มีการใช้แล้วออกไปเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกครั้ง ซึ่งสามารถลดการนำแผ่นใหม่มาใช้ในการดูดซับน้ำมันและสารเคมีที่เกิดขึ้น 15.85 ตัน คิดเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 19 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการหมุนเวียนวัสดุสำหรับบรรจุสินค้า

- โครงการหมุนเวียนพาเลท

      บริษัทฯ รับคืนพาเลทไม้และพลาสติกเพื่อใช้หมุนเวียน โดยพาเลทไม้ที่ชำรุดจะถูกนำไปซ่อมแซมและนำกลับไปใช้อีกครั้ง ช่วยลดปริมาณขยะที่ถูกนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบ  212.82 ตัน หรือร้อยละ 1000 และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 12.7 ล้านบาท คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 19 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

- โครงการหมุนเวียนไม้ประกบข้าง

      บริษัทฯ รับคืนไม้ประกบข้างเพื่อใช้หมุนเวียน ช่วยลดปริมาณในการนำไปกำจัดลง 1,218 ตัน หรือร้อยละ 11และสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย 125ล้านบาท คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 468ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

- โครงการหมุนเวียนกรวยพลาสติก

      บริษัทฯ รับคืนกรวยพลาสติกคืนจากลูกค้าและนำมาใช้หมุนเวียน ช่วยลดการนำไปกำจัดลง 13 ตัน หรือร้อยละ 100และสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย 29.9ล้านบาท คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 44ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

- โครงการสายรัดพลาสติกจากวัตถุดิบหมุนเวียน

      บริษัทฯ ได้ดำเนินการนำสายรัดที่ผลิตจากการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลมาใช้ซ้ำ ซึ่งสามารถลดการสายรัดไปกำจัด 126.11 ตัน หรือร้อยละ 100 ของปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบและสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย 26,408 บาท คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 714 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

 

กิจกรรมประกวดแนวคิด "โครงการ CEMS"

      โครงการ CEMs ริเริ่มมาจากการที่บริษัทฯ ตระหนักว่าอยากให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเสนอแนวความคิดเพื่อการดำเนินงาน ที่สอดคล้องกับหลัก CE และยังเป็นการปลูกฝัง สร้างวัฒนธรรมในองค์กร มุ่งสู่การดำเนินงานอย่างยั่งยืน ประกอบกับการวางระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน สําหรับองค์กร มตช. 2 เล่ม 2ที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการออกแบบให้นำทรัพยากรจากธรรมชาติที่มีอย่างจำกัดมาใช้ให้น้อยที่สุด โดยพยายามรักษาและสร้างคุณค่าจากทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบให้ได้มากที่สุดและนานที่สุดผ่านการหมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องในระบบปิด โดยไม่มีการปล่อยของเสียออกนอกระบบหรือปล่อยของเสียออกนอกระบบให้น้อยที่สุด เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมและตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

 

โครงการปรับปรุงความตรงของแกนกระดาษจากการใช้ฟิล์มพลาสติกที่ไม่ได้ใช้งาน

      บริษัทฯ เลือกชนิดพลาสติกฟิล์มที่ไม่ใช้งาน ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์และต้องถูกนำไปกำจัด จากสายการผลิตนำมาประกบกับกระดาษ ประกอบเป็นโครงสร้างชั้นด้านในแกนกระดาษ เพื่อลดการซึมผ่านของความชื้นและควบคุมความชื้นของแกนกระดาษ อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงความตรงของแกนกระดาษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของแกนกระดาษ ส่งผลให้ลดการเกิดของเสียที่ต้นม้วนฟิล์มพลาสติก ซึ่งเป็นการช่วยลดขยะพลาสติกที่เกิดจากกระบวนการผลิตลง

โครงการพัฒนาแผ่นพลาสติกกันกระแทก (AIR BUBBLES SHEET) จากฟิล์มพลาสติก CPP หรือ BOPP

      บริษัทฯ นำฟิล์มพลาสติกเหลือใช้จากสายการผลิตฟิล์มพลาสติก CPP และ BOPP หมุนเวียนนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแผ่นพลาสติกกันกระแทก (AIR BUBBLES SHEET)ชนิด PP และผ่านกระบวนการขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีการผลิตประเภทอัดขึ้นรูปพลาสติกแผ่น (Thermoforming) ตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นพลาสติกกันกระแทกตามต้องการ ซึ่งเป็นการช่วยลดขยะพลาสติกภายในโรงงาน และยังเป็นการลดวัตถุดิบฟอสซิลใหม่ที่จะนำไปผลิตเป็นแผ่นพลาสติกกันกระแทกด้วย

โครงการผลิตเคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie) จากเศษฟิล์มพลาสติก BOPA

      บริษัทฯ นำเศษฟิล์มพลาสติก BOPA ที่เหลือทิ้งจากฝ่ายผลิต นำกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเคเบิ้ลไทร์ โดยส่งวัตถุดิบให้กับทางคู่ค้า นำไปผลิตและส่งกลับมาให้บริษัทฯ ใช้งานต่อไป ฟิล์ม BOPA ถือว่ามีความเหนียว ทนทาน บิดงอได้ ต้านทานแรงดึงและการฉีกขาดได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน จึงเหมาะสมต่อการนำมาผลิตเคเบิ้ลไทร์ โดยโครงการนี้ช่วยลดขยะพลาสติกภายในโรงงานและช่วยลดวัตถุดิบฟอสซิลที่จะนำไปผลิตเคเบิ้ลไทร์

โครงการเสื้อยูนิฟอร์มของพนักงานจากฟิล์มพลาสติกที่เหลือใช้

      บริษัทฯ นำฟิล์มพลาสติก BOPET ที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต นำมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล และนำส่งให้คู่ค้า เป็นวัตถุดิบในการผลิตออกมาเป็นเส้นใย ย้อมสี และตัดเย็บออกมาเป็นเสื้อยูนิฟอร์มของพนักงาน ซึ่งเป็นการลดวัตถุดิบฟอสซิลที่ต้องนำไปผลิตเป็นเสื้อยูนิฟอร์ม และยังนำฟิล์มพลาสติกเหลือใช้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หมุนเวียนในระบบต่อไป

โครงการพัฒนาแกนกระดาษกันความชื้น

      บริษัทฯ ร่วมมือกับคู่ค้า ซึ่งเป็นผู้ผลิตแกนกระดาษ ในการพัฒนาแกนกระดาษกันความชื้นสำหรับใช้งานกับฟิล์มพลาสติก BOPAโดยแกนกระดาษมีโครงสร้างด้านใน ประกอบด้วยชั้นฟิล์มพลาสติก Metallized ซึ่งเป็นฟิล์มพลาสติก Metallized ที่เหลือทิ้งหรือไม่ได้นำไปใช้ เป็นการลดขยะพลาสติกภายในโรงงานและยังเป็นการลดต้นทุนในส่วนวัตถุดิบของแกนกระดาษลง