การบริหารจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

 
 

บริษัทฯ มุ่งมั่นจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกส่วนต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเพื่อตอบสนองต่อการที่ประเทศไทยประกาศเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ NET ZERO ในปี 2065 ในที่ประชุม COP26 

ด้วยความที่บริษัทฯเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมฯซึ่งเป็นภาคที่มีการใช้พลังงานสูงและมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่สินค้าบรรจุภัณฑ์ บริษัทฯจึงมุ่งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยเป็นผู้นำในธุรกิจผลิตฟิล์มที่มีคุณภาพสูง ในขณะเดียวกัน ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตต่ำ และใช้ทรัพยากรที่อย่างมีประสิทธิภาพในทุกกระบวนการ

บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในระดับองค์กร (Carbon Neutrality) ให้ได้ร้ยละ 30 ภายในปี 2030 จากการดำเนินงานปีฐาน 2023 และตั้งใจในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในระดับองค์กร (NET ZERO EMISSION) ในปี 2065 ความตั้งใจดังกล่าวได้แสดงออกผ่านการเข้าร่วมเครือข่ายคาร์บอนนิวทรอลแห่งประเทศไทยซึ่งจัดตั้งโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นอกจากนี้ บริษัทยังได้เข้าร่วมเครือข่ายคาร์บอนนิวทรอลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิด้วย

การกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Climate Change Governance

บริษัทฯ กำหนดโครงสร้างการกำกับและบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครอบคลุมตั้งแต่ระดับกรรมการบริษัทและถ่ายทอดไปยังระดับปฏิบัติการ เพื่อให้การบริหารจัดการการดำเนินงานสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวไปกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของบริษัทฯ คณะกรรมการที่รับผิดชอบในการดูแลจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการจัดการด้านความยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee) คณะกรรมการดังกล่าวเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนและกำกับดูแลการบริหารงานด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย นอกจากนี้ ยังมี คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ที่ดำเนินการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความเสี่ยง ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

 

โครงสร้างการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Organizational Structure of Climate Change Governance

  

การบริหารจัดการความเสี่ยง

บริษัทฯ ได้ประเมินปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็น ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค ราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำหรับการประเมินความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทฯประเมินตามแนวทางของ Task Force on Climate-Related Financial Disclosure (TCFD) โดยบูรณาการเข้ากับการบริหารความเสี่ยงองค์กร

บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายบริหารความเสี่ยง จัดตั้งหน่วยงานบริหารความเสี่ยง และได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับสากล ตามแนวทางของ COSO-Enterprise Risk Management (COSO-ERM)ร่วมกับการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 เพื่อป้องกันและจัดการประเด็นความเสี่ยงปัจจุบันและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อวางแผนมาตรการป้องกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

กระบวนการระบุและประเมินความเสี่ยงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หน่วยงานบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการปฏิบัติงานบรรษัทภิบาลและความยั่งยืนเป็นผู้พิจารณาความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพิจารณาในด้านสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่มีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง ได้แก่

1. การระบุความเสี่ยง
2. การประเมินระดับความเสี่ยง
3. การลำดับความเสี่ยง
4. กำหนดแผนการบริหารความเสี่ยง
5. การรายงานผลการดำเนินงาน
 

บริษัทฯกำหนดระดับความเสี่ยง ได้แก่ เกณฑ์ระดับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์และเกณฑ์ระดับความรุนแรงไว้ดังนี้

 

เกณฑ์ระดับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์

 

เกณฑ์ระดับความรุนแรงของผลกระทบ

 

แผนผังระดับความเสี่ยง

ระดับความเสี่ยง คือ โอกาสในการเกิดเหตุการณ์คูณความรุนแรงผลกระทบ

บริษัทฯมีแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไปตามระดับความเสี่ยง สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ การบริหารจัดการความเสี่ยง ประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถแยกได้เป็นสองแบบ ดังนี้

 

Transitional Risks

1. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ

การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดหรือกฎระเบียบต่างๆในกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก จะมีผลกระทบโดยตรงต่อส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติก โครงสร้างราคาต้นทุน บริษัทฯจึงประเมินปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าวและและพิจารณาแนวทางบรรเทาผลกระทบ สามารถแสดงตารางแสดงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆได้ ดังนี้

Physical Risks

1. ความเสี่ยงจากภัยแล้ง

กรณีเกิดภาวะภัยแล้ง อาจมีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ บริษัทฯจึงได้ประเมินความเสี่ยงจากภัยแล้งและพิจารณาแนวทางบรรเทาผลกระทบ สามารถแสดงตารางแสดงความเสี่ยงจากภัยแล้งได้ ดังนี้

2. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดกระแสการแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค บริษัทฯจึงได้ประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถแสดงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ดังนี้

กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การควบคุมและบรรเทาความเสี่ยง

 

Transitional Risks

1. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ

การควบคุมและบรรเทาความเสี่ยง

ศึกษาและติดตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งในและประเทศคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงค้นคว้าทางนวตกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับต้องการทางตลาดทั้งในและต้องการทั้งในและต่างประเทศ

 

Physical Risks

1. ความเสี่ยงจากภัยแล้ง

การควบคุมและบรรเทาความเสี่ยง

การวิเคราะห์ความตึงเครียดของน้ำ

บริษัทฯมีการวิเคราะห์ความตึงเครียดของน้ำเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำในช่วงเวลาที่ต่างกันและตามพื้นที่โรงงานต่างๆ รายละเอียดตาม รายงานความยั่งยืน ประจำปี 2566 หน้า 63 การวิเคราะห์ความตึงเครียดของน้ำ

โครงการ Cooling Water Chiller

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รายงานความยั่งยืน ประจำปี 2565 หน้า 74 โครงการ Eco-Water สำหรับ Cooling Tower

 

2. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การควบคุมและบรรเทาความเสี่ยง

  • โครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกกะวัตต์ต่อชั่วโมง

  • โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า

  • แนวคิดในการเลือกใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รายงานความยั่งยืน ประจำปี 2565 หน้า 59

 

กระบวนการบูรณาการความเสี่ยงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความเสี่ยงองค์กร

ตัวแทนจากคณะกรรมการปฏิบัติงานบรรษัทภิบาลและการพัฒนามีการนำเสนอวิเคราะห์และนำเสนอปัจจัยความเสี่ยงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่หน่วยงานบริหารความเสี่ยงอยู่สม่ำเสมอๆ เพื่อบูรณาการความเสี่ยงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไปกับความเสี่ยงขององค์กร

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรทางตรงและทางอ้อม

Greenhouse Gas Emissions (Scope 1 and Scope 2)

บริษัทฯ มีการดำเนินงานรวบรวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ การรายงานดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะการดำเนินกิจกรรมของโรงงานซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมการดำเนินของบริษัทร่วมทุน

การคำนวนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดำเนินงานตามมาตรฐาน “GHG Protocol Corporate Accounting and Reporting Standards”, World Resource Institute และแนวทางการประเมินก๊าซเรือนกระจกขององค์กรตามองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยใช้วิธีการรายงานแบบควบคุม (Operational Control Approach) ก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ในขอบข่ายการติดตามผล ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC)เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และ ไนโตรเจนฟลูออไรด์ (NF3)

ในอนาคต บริษัทฯมีแนวคิดในการทวนสอบข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร เพื่อการดำเนินงานรายงานข้อมูลมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และมีความน่าเชื่อถือ

 

ตารางแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร ขอบเขต 1 และขอบเขต 2 ประจำปี 2564

หมายเหตุ

1. หน่วย เป็น ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
2. ข้อมูลดังกล่าวผ่านการทวนสอบจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองและทวนสอบตามข้อกำหนดขององค์การบริหารจัดการก๊าซรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นที่เรียบร้อย
3. ขอบเขตการรายงานครอบคลุมเฉพาะโรงงานแหลมฉบังเท่านั้น
ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประจำปี 2565 อยู่ระหว่างการทวนสอบ

 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรทางอ้อมอื่นๆ

Greenhouse Gas Emissions (Scope 3)

บริษัทฯ ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ โดยได้รวบรวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางอ้อมอื่นๆ ตามแนวทางของ “GHG Protocol Corporate Value Chain Standard”, World Resource Institute โดยบริษัทฯคัดเลือกเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่มีนัยสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 3 ได้แก่ การได้มาซึ่งเม็ดพลาสติก การกำจัดขยะ เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะกิจกรรมดังกล่าวมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญในห่วงโซ่คุณค่า มีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ กิจกรรมดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงหรือโอกาสทางธุรกิจ และกิจกรรมดังกล่าวอยู่ในขอบข่ายความสนใจของบริษัทซึ่งอาจมีแนวทางบริหารจัดการในอนาคต

 

ตารางแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรขอบเขต 3 ประจำปี 2564

 

หมายเหตุ

1. หน่วย เป็น ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
2. ข้อมูลดังกล่าวผ่านการทวนสอบจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองและทวนสอบตามข้อกำหนดขององค์การบริหารจัดการก๊าซรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นที่เรียบร้อย
3. ขอบเขตการรายงานครอบคลุมเฉพาะโรงงานแหลมฉบังเท่านั้น
4. ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประจำปี 2565 อยู่ระหว่างการทวนสอบ

 

        

 

ความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อตันการผลิต

Greenhouse Gas Emissions Intensity (Scope 1 and Scope 2)

บริษัทฯ กำหนดค่าความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปริมาณการผลิต (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ต่อ ตัน) สามารถแสดงได้ ดังนี้

 

ตารางแสดงค่าความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 1และขอบเขต 2 ต่อปริมาณการผลิต

ตารางแสดงค่าความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 1-3 ต่อปริมาณการผลิต

 

หมายเหตุ

1. ข้อมูลดังกล่าวผ่านการทวนสอบจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองและทวนสอบตามข้อกำหนดขององค์การบริหารจัดการก๊าซรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นที่เรียบร้อย
2. ขอบเขตการรายงานครอบคลุมเฉพาะโรงงานแหลมฉบังเท่านั้น
3. ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประจำปี 2565 อยู่ระหว่างการทวนสอบ
 
 

แนวทางลดการใช้พลังงานและลดก๊าซเรือนกระจก

Carbon Reduction Initiative

 

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 เมกะวัตต์

บริษัทฯ ติดตั้งโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ขนาด 1 เมกะวัตต์ ขนาดกำลังผลิตต่อแผง 540 วัตต์ ติดตั้ง 1,851 แผง โครงการดังกล่าวสามารถผลิตไฟฟ้าทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่งได้จำนวน 1,365,105.96 กิโลวัตต์ ในช่วงเวลาการดำเนินงานตั้งแต่เดือนมีนาคม-ธันวาคม 2566 บริษัทฯคาดการณ์ว่าสามารถลดก๊าซเรือนกระจกจากโครงการได้จำนวน871 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

บริษัทฯ คาดว่าจะนำโครงการดังกล่าวเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER) เพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกลดก๊าซเรือนกระจกในเชิงพาณิชย์ด้วย

 

โครงการ Eco-Water สำหรับ Cooling Tower ช่วยลดตะกรันและลดการใช้สารเคมี

ในปี 2566 บริษัทฯ มีแผนการติดตั้งระบบบำบัดน้ำแบบ Non-Chemical สำหรับ Cooling Tower โดยทั่วไปแล้ว Cooling Tower จะระบายความร้อนได้ลดลงหากถาดน้ำเกิดตะกรันอุดตัน มีตะไคร่และอาจเกิดเชื้อโรค หรือ Condenser Tube มีการอุดตัน ผุกร่อน ทำให้ประสิทธิภาพต่ำลง

บริษัทฯ วางแผนจะนำระบบ Eco-Water ที่มีอุปกรณ์ Oxidizer และ Copper/Silver Ion เข้ามากำจัดแบคทีเรียและใช้ Ultrasonic ในการทำให้โครงสร้างตะกรันแตกออกและสามารถกรองออกได้ง่าย ระบบดังกล่าวช่วยลดการซ่อมบำรุง Cooling Tower เพิ่มสมรรถนะการทำความเย็นที่ดีขึ้น และสามารถทำให้ลดการใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำสำหรับ Cooling Tower ลงได้ ประมาณ 30 ลิตรต่อครั้ง หรือประมาณ 120,000 บาทต่อปี

โครงการ DFD Direct Flake Dosing

โครงการติดตั้งระบบรีไซเคิลเศษฟิล์มพลาสติกโดยตรง (Direct Flake Dosing: DFD) ลดกระบวนการหลอมเศษพลาสติกและแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล โดยระบบจะดึงเศษพลาสติกที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการผลิต เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผ่านกระบวนการหลอมและหลอมรวมเข้ากับวัตถุดิบหลักอย่างเม็ดพลาสติก และฉีดออกมาเป็นแผ่น ผ่านกระบวนการผลิตเป็นฟิล์มพลาสติก ซึ่งยังเป็นการช่วยลดการใช้ปริมาณเม็ดพลาสติกและลดพลังงานที่ใช้ในการหลอมและแปรรูปลง ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีขึ้น

บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถลดการใช้ Virgin Resin ได้ร้อยละ 20 หรือราว 8,640 ตันต่อปี จากโครงการ Direct Flack Dosingสามารถลดขั้นตอนการผลิตและสามารถประหยัดพลังงานได้ 0.3 กิโลวัตต์ต่อกิโลกรัม  โครงการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้นกว่า 16,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากการลดการใช้เม็ดพลาสติก (Virgin Resin) และประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการหลอมเม็ด

โครงการดังกล่าวมีแนวโน้มจะนำเข้าขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานสากล (VERRA) ตามวิธีการคิด AMS-III AJ, Recycling and Recycling of Materials from Solid Wastes (Small Scale Methodology)

 

Task Force Climate-Related Financial Disclosure (TCFD)

 

เอกสารแสดงเจตจำนงค์ในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในระดับองค์กร

 

รายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร บริษัท เอ เจ พลาสท์ จำกัด (มหาชน)

 

 

A.J. Plast ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ NETZERO EEC

บริษัทฯเข้าร่วมพิธีเปิดโครงการและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการขับเคลื่อนสู่ Net Zero EEC เพื่อสนุบสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศเพื่อระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ EEC เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566