
การบริหารจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ตระหนักว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินการ ทั้งจากกระบวนการผลิต การใช้ทรัพยากร ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ การใช้พลังงาน ก่อให้เกิดขยะ ของเหลือทิ้ง และผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบให้ลูกค้า ตลอดจนการขนส่งถึงลูกค้า จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการบริหารสิ่งที่เกิดขึ้นและปล่อยออกจากพื้นที่บริษัทฯ นอกจากนี้ ยังตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและระบบนิเวศท้องถิ่น รวมถึงอิทธิพลที่สภาพแวดล้อม มีต่อการใช้ชีวิตของทุกคนในสังคมเพื่อให้้มั่นใจได้ว่าธุรกิจจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
นโยบายสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญและคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ ให้การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลักดันการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่ท้องตลาด และ ส่งเสริมให้เกิดแรงผลักดันด้านสังคมเพื่อให้เกิดความสนใจในด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนี้
1. การปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดต่างๆ รวมถึงพันธะสัญญาที่บริษัทฯ เกี่ยวข้อง
2. การป้องกันมลพิษที่เกิดจากการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในการผลิต และกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
3. การปกป้องสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4. ปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม
5. ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำหลักการแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้
6. การปลูกฝังวัฒนธรรมเกี่ยวกับสิ่งแวล้อมภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยการผลักดันให้มีการอบรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี การนำเสนอ ส่งเสริม ให้ความร่วมมือและพัฒนาเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑืเพื่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้มีส่วนได้เสีย และโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นโยบายสิ่งแวดล้อม ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เป้าหมายด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ มีการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว สอดคล้องตามนโยบายสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเด็นสาระสำคัญของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการด้านขยะและของเสีย ด้านพลังงาน การบริหารจัดการน้ำ และการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่บริษัทฯ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญ
เป้าหมายด้านมลพิษทางอากาศ
สอดคล้องตามเป้าหมายของระบบมาตรฐาน ISO 14001:2015ของบริษัทฯ โดยกำหนดให้มีการตรวจวัดค่าฝุ่นละออง (Particulate Matter) คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) ก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Dioxide) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน
เป้าหมายแสง เสียง ความร้อนและสารเคมี
การบริหารจัดการด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม
การบริหารจัดการด้านมลพิษทางอากาศ
บริษัทฯ บริหารจัดการด้านมลพิษทางอากาศ โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในพื้นที่และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณภาพอากาศที่ได้ตรวจวัดไปนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2549 โดยบริษัทฯ มีการตรวจวัดมลพิษในพื้นที่โรงงาน ได้แก่ ค่าฝุ่นละออง (Particulate Matter) คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) ก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Dioxide) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) เป็นต้น
การบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมในการทำงาน
การควบคุมสภาวะแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ระดับความร้อน แสงสว่าง เสียง หรือสารเคมี ในพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการจัดการรองรับในภาวะฉุกเฉินอย่างครบถ้วน รวมถึง การซ้อมแผนฉุกเฉินเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การบริหารจัดการแสง
บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายในการควบคุมคุณภาพแสงสว่างในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง 2561 รวมทั้งดำเนินแก้ไขและปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
- การบริหารจัดการเสียง
บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายในการควบคุมค่าระดับเสียงในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐาน ระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานในแต่ละวัน พ.ศ. 2561 รวมทั้งมีการจัดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานและจัดอบรมให้ทราบถึงอันตรายจากการได้รับเสียงดัง
-การบริหารจัดการความร้อน
บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายในการควบคุมระดับความร้อนในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 โดยแบ่งตามลักษณะงาน คือ งานเบา งานปานกลาง และงานหนัก อีกทั้งมีการจัดชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่
- การบริหารจัดการสารเคมี
บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายในการควบคุมปริมาณสารเคมีในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2560 และมาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งมีการจัดชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่
ผลการดำเนินงานด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงานด้านมลพิษทางอากาศ
บริษัทฯ ได้ดำเนินการเน้นการผลิตที่มีคุณภาพควบคู่กับการตระหนักถึงการประเมินการสัมผัสสภาพแวดล้อมในการทำงานและการเฝ้าระวังการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม จึงได้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเกินกว่ากฎหมายกำหนด
บริษัทฯ ตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพอากาศจากปล่องระบายอากาศ โดยมีรายการตรวจวัด ได้แก่ ฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxide of Nitrogen) และ คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) โดยแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ ดังนี้
ตารางแสดงการตรวจวัดวิเคราะห์คุณภาพ ประจำปี 2566
รายการตรวจวัด |
หน่วย |
มาตรฐาน |
ปล่องระบายหม้อต้มน้ำมันร้อน |
|||
No.5 B3 |
No.9 BOPET |
No.10 B5 B6 |
No.11 BOPA |
|||
ฝุ่นละอองรวม |
มก./ลบ.ม. |
320 |
9.9 |
1.2 |
1.9 |
1.6 |
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ |
ppm |
60 |
<1.3 |
<1.3 |
<1.3 |
<1.3 |
ออกไซด์ของไนโตรเจน |
ppm |
200 |
34.1 |
1.5 |
28.2 |
23.3 |
คาร์บอนมอนออกไซด์ |
ppm |
690 |
<0.04 |
<0.04 |
<0.04 |
<0.04 |
หมายเหตุ:
1.ที่มารายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพจากปล่องอากาศ วันที่ 3 เมษายน 2566 โดยบริษัท วีแคร์ เอ็นไวรอนแมนท์ เซอร์วิส จำกัด
2.ข้อมูลเฉพาะพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง
ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการแสง
บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพแสงสว่างในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ โดยมีแบ่งตามการใช้สายตาคือ งานหยาบและงานละเอียดเท่ากับหรือมากกว่า 200-300 และ 400-500 ลักซ์ ตามลำดับตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง 2561 โดยสามารถแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ได้ดังนี้
ตารางแสดงการตรวจวัดคุณภาพระดับความเข้มแสงประจำปี 2566
ประเภทงาน |
จำนวนจุดตรวจวัด |
ผลการตรวจวัดเฉลี่ย (ลักซ์) |
มาตรฐาน (ลักซ์) |
งานหยาบ |
11 |
118.7 |
≥200-300 |
งานละเอียดเล็กน้อย |
30 |
212.8 |
≥400-500 |
หมายเหตุ:
โดยปี 2566 พบว่าคุณภาพแสงสว่างบางพื้นที่มีค่าไม่สอดคล้องตามมาตรฐานกำหนด ซึ่งพบว่าประเภทงานหยาบและงานละเอียดเล็กน้อยมีทั้งหมด 11 และ 30 จุด ตามลำดับ และค่าความสว่างเฉลี่ยสูงสุดในพื้นที่ประเภทงานหยาบและงานละเอียด เท่ากับ 118.7 และ 212.8 ลักซ์ ที่ไม่สอดคล้องตามมาตรฐานฯ บริษัทฯ จึงดำเนินการเพิ่มจำนวนหลอดไฟจำนวน 819 ดวง และทำความสะอาดแหล่งกำเนิดแสงสว่างในพื้นที่ฝ่ายผลิตและพื้นที่สำนักงาน เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานฯ
ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการเสียง
บริษัทฯ ดำเนินการตรวจวัดค่าระดับความดังเสียงในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ โดยค่าระดับเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมงไม่เกิน 85 เดซิเบล และค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐาน ระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานในแต่ละวัน พ.ศ. 2561 โดยสามารถแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ได้ดังนี้
ตารางแสดงการตรวจวัดคุณภาพระดับความดังเสียง ประจำปี 2566
จำนวนจุดตรวจวัด |
หน่วย |
ผลการตรวจวัดLeq8 hrsเฉลี่ย (เดซิเบลเอ) |
ค่ามาตรฐาน |
23 |
เดซิเบลเอ |
85.83 |
≤85 |
หมายเหตุ:
โดยปี 2566 พบว่าคุณภาพเสียงไม่สอดคล้องตามมาตรฐานเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยตรวจวัดค่าระดับเสียงเฉลี่ยทั้งหมด 23 จุด และมีค่าระดับความดังเสียงเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 85.83 เดซิเบลเอ ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินการบริหารจัดการ รวมทั้งควบคุมคุณภาพเสียงอย่างเข้มงวด ด้วยโครงการอนุรักษ์การได้ยินและควบคุมเสียง ดังนี้
(1) กำหนดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่จำเป็นในการสวมใส่ก่อนเข้าสู่ส่วนกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับเสียงสูง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่อุดหู (Earplug) ช่วยลดระดับเสียงและป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อการได้ยินของพนักงาน
(2) ปลูกฝังวัฒนธรรมการคำนึงถึงการควบคุมคุณภาพเสียงและอันตรายที่อาจเกิดจากเสียงดังให้แก่พนักงานทุกระดับ โดยจัดทำป้ายเตือนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่จำเป็นในการสวมใส่ก่อนเข้าสู่ส่วนกระบวนการผลิต และได้รับการอบรมเกี่ยวกับอันตรายจากเสียงดัง และวิธีปฏิบัติงานและการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างเหมาะสม
ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความร้อน
บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจวัดระดับความร้อนในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 โดยแบ่งตามลักษณะงาน คือ งานเบา และงานปานกลาง มีค่าเท่ากับ 0-200 และ 201-350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง ตามลำดับ โดยสามารถแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ได้ดังนี้
ตารางแสดงการตรวจวัดคุณภาพระดับความร้อน ประจำปี 2566
ประเภทงาน |
จำนวนจุดตรวจวัด |
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) |
Workload (กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง) |
มาตรฐาน |
|
Workload (กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง) |
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) |
||||
งานเบา |
7 |
34.31 |
179.29 |
0-200 |
≤34 |
งานปานกลาง |
16 |
29.66 |
253.75 |
201-350 |
≤32 |
หมายเหตุ:
โดย ปี 2566 พบว่าค่าระดับความร้อนตามประเภทงานเบาและงานปานกลางเท่ากับ 7 และ 16 จุด และมีค่าระดับความร้อนเฉลี่ยในงานประเภทงานเบาและงานปานกลางเท่ากับ 179.29 และ 253.75 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง ซึ่งสอดคล้องตามาตรฐาน
โครงการหรือกิจกรรมด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ
จากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ พบว่า ค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องตามกฏหมายในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ แสงสว่าง และเสียง ทั้งนี้บริษัทฯ ยังเปิดรับเบาะแสและข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ในปี 2566 พบว่าไม่มีข้อร้องเรียนใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านมลพิษทางอากาศและสภาวะแวดล้อมในการทำงาน และบริษัทฯ จะมุ่งเน้นในการผลิตฟิล์มพลาสติกที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
1.การสำรวจและพิจารณาจุดที่ต้องมีการตรวจวัดมลพิษทางอากาศเพิ่มเติม
บริษัทฯ ได้ดำเนินการพิจารณาสำรวจจุดที่เกิดมลพิษภายในโรงงาน และพิจารณาจุดที่ต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมร่วมกับบริษัทรับตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อครอบคลุมจุดที่คาดว่าจะมีการปล่อยมลพิษทางอากาศและมีการตรวจสอบซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบต่อพนักงานหรือสภาพแวดล้อมรอบ ๆ และชุมชนใกล้เคียงกับบริษัทฯ
2.โครงการอนุรักษ์การได้ยิน
บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดป้ายจุดที่มีเสียงดัง ซึ่งต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ขณะทำงานตลอดเวลาในจุดที่มีเสียงดัง และจัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวเสียงดังและการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจได้รับจากการสัมผัสเสียงดังขณะปฏิบัติงานรายละเอียดเพิ่มเติมที่หัวข้อ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3.โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า
บริษัทฯ ดำเนินการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟ้าประเภท LED ภายในพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง รายละเอียดเพิ่มเติมที่หัวข้อ การบริหารจัดการพลังงาน
4.โครงการลดมลพิษทางอากาศโดยการติดตั้งตัวกรอง
บริษัทฯ ดำเนินการติดตั้งตัวกรองอากาศโดยดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 เพื่อลดการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศ โดยในปี 2566 มีปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ยเท่ากับ 3.7 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และปริมาณเฉลี่ยก๊าซ Sulfur Dioxide , และ Carbon Monoxide เท่ากับ <1.3 และ <0.04 ppmตามลำดับ ซึ่งลดลงร้อยละ 4, 62 และ 97 จากปี 2565 ตามลำดับและ ปริมาณเฉลี่ยOxides of Nitrogenเท่ากับ 21.8 ppmซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 จากปี 2565 ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ของปี 2566ยกเว้นปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ยและ Oxides of Nitrogenอีกทั้งค่าปริมาณมลพิษทางอากาศทั้งหมดกล่าวข้างต้น ยังมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงอุุตสาหกรรม เรื่องกำหนดค่าปรbมาณของสารเจืือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549