การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน

การบริหารจัดการพลังงานเป็นหนึ่งในประเด็นสาระสำคัญที่บริษัทให้ความสำคัญและสิ่งที่ประชาคมโลกมุ่งเน้นให้ภาคอุตสาหกรรมมีการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทได้ติดตามความเคลื่อนไหวของการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลังปี 2020 Nationally Determined Contribution (NDC) ซึ่งยื่นต่อสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ด้วยเล็งเห็นว่า บริษัทเป็นส่วนหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ในสาขาพลังงาน แนวคิดในการจัดทำโครงการลดการใช้พลังงานของบริษัทฯจะเป็นไปเพื่อการสนับสนุนแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 ซึ่งมีเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงานลดร้อยละ 30 ภายในปี 2579 และ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 ซึ่งมุ่งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ร้อยละ 30 ภายในปี 2579 เช่นกัน

นอกจากนี้ บริษัทฯยังสนับสนุนการดำเนินงานของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนธุรกิจสู่โมเดลธุรกิจสู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio, Circular, Green Economy) ดังนั้น การบริหารจัดการพลังงานของบริษัทฯจึงเป็นการดำเนินงานควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนแนวคิดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

บริษัทฯให้ความสำคัญในการบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นต้นทุนในการดำเนินงานของบริษัทฯและบริษัทฯตระหนักดีว่า การบริหารจัดการพลังงานที่ดีย่อมเป็นการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ บริษัทฯมีการบริหารจัดการพลังงานเป็นไปตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (ฉบับแก้ไข พ.ศ.2550)

การใช้พลังงานส่วนใหญ่จะอยู่โรงงานแหลมฉบังณ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ในขอบข่ายโรงงานควบคุมตามพระราชกฤษฎีกากำหนดโรงงานควบคุม พ.ศ.2540 เนื่องจากเป็นโรงงานที่ติดตั้งหม้อแปลงขนาด 2,500 kVA จำนวน 8 ตัวและ หม้อแปลงขนาด 3,000 kVA จำนวน 6 ตัว สรุปมีหม้อแปลงไฟฟ้าติดตั้ง จำนวน 51,000 kVA

บริษัทฯได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานซึ่งมีคุณสมบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติ หน้าที่และจำนวนของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ.2552 โดยมีหน้าที่จัดการพลังงาน ดังนี้

  1. จัดทำระบบการจัดการพลังงาน
  2. รายงานการจัดการพลังงาน
  3. ตรวจสอบและรับรองระบบการจัดการพลังงาน

ทั้งหมด จะดำเนินการรายงานต่อกรมอนุรักษ์พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานเป็นประจำทุกปี สำหรับในปี 2565 บริษัทมีการใช้พลังงานภายในโรงงานแหลมฉบัง สามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้

 

ตารางแสดงปริมาณการใช้พลังงาน ประจำปี 2565

 

ข้อมูลการใช้พลังงาน

 เมกะจูล

A

ปริมาณการใช้พลังงานประเภทใช้แล้วหมดไป ทั้งหมด

       318,739,765

 

(Total Fuel Consumption within Plant from non-renewable sources)

 

 

ปริมาณการใช้พลังงานประเภทก๊าซธรรมชาติ

         318,739,765

B

ปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนจากส่วนที่ผลิตได้เอง ทั้งหมด

           4,504,850

 

(Total Fuel Consumption within Plant from renewable sources that generated from Plant)

 

 

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์

             4,504,850

C

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งหมด

       539,074,487

 

(Total Elecricity Consumption within Plant)

 

 

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า หมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า 208205633

         501,413,591

 

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า หมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า 23049353

           37,660,896

D

ปริมาณการขายพลังงานไฟฟ้า ทั้งหมด

                      -  

 

(Total Electricity Sold from Plant)

 

รวมปริมาณการใช้พลังงาน ทั้งหมด ((A+B+C)-D))

       862,319,101

(Total Energy Consumption within Plant)

 

หมายเหตุ:

  1. 1. Data on shown represented only Laem Chabang Industrial Estate. The Pinthong Plant in Chonburi province has just started operation in Q4/2022. 2. Data on Electricity Consumption and natural gas consumption comes from Energy Management Report 2022 that is certified by Mr. Bandit Chaipranitthan, an energy auditor. 3. Conversion Factors has been referenced from Thailand Energy Statistic Report 2022, Ministry of Energy, page 222.

 

ในปี 2565 บริษัทฯตั้งเป้าหมายการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยตั้งเป้าหมายเป็นร้อยละของปริมาณไฟฟ้าที่ลดลง โดยมีการตั้งเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและมีผลการอนุรักษ์พลังงานที่เกิดขึ้นจริง ดังนี้

 

รายละเอียด

แผนการอนุรักษ์พลังงานตามเป้าหมาย

ผลการอนุรักษ์พลังงานที่เกิดขึ้นจริง

ร้อยละที่ลดลงของปริมาณพลังงานที่ใช้เดิมจากปีก่อนหน้า

                           0.54

0.57

 

ค่าการใช้พลังงานจำเพาะต่อหน่วยการผลิต

Energy Intensity

บริษัทฯกำหนดค่าการใช้พลังงานจำเพาะฐาน (Specific Energy Consumption: SEC) โดยมีการเปรียบเทียบอัตราส่วนของปริมาณพลังงานไฟฟ้าและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในโรงงานแหลมฉบังต่อปริมาณการผลิตฟิล์มพลาติกในรอบปี โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC)

=ปริมาณพลังงานไฟฟ้า (กิโลวัตต์-ชั่วโมง)x3.6 (เมกะจูลต่อชั่วโมง)+ปริมาณพลังงานความร้อน (เมกะจูล)

                                      ปริมาณผลผลิต (ตัน)

= (149,742,913 กิโลวัตต์-ชั่วโมง x 3.6 เมกะจูลต่อชั่วโมง) + 539,074,487 เมกะจูล

                                      177,708.62 ตัน

= 4,827.08เมกะจูล ต่อ ตัน

หมายเหตุ :

  1. ข้อมูลดังกล่าวได้รับการตรวจสอบจากนายบัณฑิต ไชยประณิธาน ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  2. ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้มาจากการใช้ไฟฟ้าภายในโรงงานแหลมฉบังเท่านั้น ไม่มีการใช้พลังงานจากภายนอกโรงงาน

 

มาตรการลดการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน

Reduction of Energy Consumption

บริษัทฯ มุ่งเป้าหมายการลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตแผ่นฟิล์มเนื่องด้วยปริมาณการใช้ไฟฟ้าในส่วนนี้มีสัดส่วนที่เยอะที่สุดเมื่อเทียบกับการใช้พลังงานในภาพรวมของบริษัท แนวคิดในการอนุรักษ์พลังงานจะมุ่งเน้นการก้าวไปสู่ The NET-ZERO Standard ตามหลักการของ Science-Based Target (The SBTi’s NET-ZERO standard) บริษัทฯจะเลือกลดการใช้พลังงานฟอซซิล หันมาใช้พลังงานหมุนเวียน และเลือกอุปกรณ์ที่สามารถประหยัดพลังงานได้ตั้งแต่ริเริ่มโครงการ   

 

ตารางแสดงสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้า

หมายเหตุ: ข้อมูลดังกล่าวเฉพาะพื้นที่โรงงานแหลมฉบังเท่านั้นและเฉพาะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

 

ในปี 2565 บริษัทฯได้กำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน จำนวนร้อยละ 0.54 จากปริมาณการใช้พลังงานเดิม ในการดำเนินงานลดการใช้พลังงานของปี 2565 บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการใช้พลังงานเป็นที่เรียบร้อย โดยสามารถลดการใช้พลังงานได้ จำนวนร้อยละ 0.57 ผลประหยัดดังกล่าวมาจากโครงการติดตั้ง Solar Cell ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง สำหรับโครงการลดการใช้พลังงานในรอบปี 2565 มีรายละเอียด ดังนี้

มาตรการอนุรักษ์พลังงาน

1. โครงการติดตั้ง Solar Cell ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง

บริษัทฯได้มีโครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ ที๋โรงงานแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ขนาดกำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ ขนาดกำลังผลิตของแผงจำนวน 540 วัตต์ จำนวน 1,851 แผง โดยใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาท บริษัทฯคาดการณ์ว่าจะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้จำนวน 1,288,937 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และสามารถลดต้นทุนได้ 4,673,924 บาทต่อปี

 

วิธีการคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ลดลงในรอบปี

พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโครงการโซล่าเซลล์

= ชั่วโมงการผลิตไฟฟ้า (ชั่วโมงต่อวัน) x จำนวนวันในรอบปี x พื้นที่ติดตั้ง (m2) X ค่าประสิทธิภาพรวม (%) x ค่ารังสีแสงอาทิตย์ (วัตต์ต่อ m2) /1,000

ชั่วโมงการผลิตไฟฟ้า

 จำนวนวันในรอบปี

 พื้นที่ติดตั้ง

 ค่าประสิทธิภาพรวม

 ค่ารังสีแสงอาทิตย์

 (ชั่วโมงต่อวัน)

 (วัน)

 (m2)

 %

 (วัตต์ต่อ m2)

                     8

                  365

                2,702

                    27

                  442

 = 1,288,937.22 กิโลวัตต์ ต่อปี

กรณีค่าไฟฟ้า 3.63 บาทต่อกิโลวัตต์ บริษัทจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 4,673,924.55 บาทต่อปี

ในอนาคต บริษัทฯมีแนวคิดในการนำโครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาด 1 เมกะวัตต์เข้าร่วมการขอการรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ในหมวดโครงการด้านพลังงาน (ENERGY) ระเบียบวิธีการพัฒนาพลังงานทางเลือกการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (AE) เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการดังกล่าวลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม

 

 

2. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า

บริษัทฯมีการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศ การเลี่ยนหลอดไฟฟ้า บริษัทมีการพิจารณาการเลือกการใช้ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

บริษัทฯเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟ้าประเภท LED แทนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ประเภท T5 และT8 ภายในพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง ประมาณ 24,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี หรือสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 11 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

นอกจากนี้ บริษัทฯได้มีการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศ Air Compressor 750 kW (เครื่องอัดอากาศ ขนาด 596 kW จำนวน 1 เครื่อง และขนาด 375 kW จำนวน 1 เครื่อง) สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลง ราว 300,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี หรือสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 148 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

 

แนวคิดในการเลือกใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

บริษัทฯมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติกเป็นจำนวนมาก ในการใช้ไฟฟ้าที่พื้นที่โรงงานแหลมฉบัง บริษัทฯมีการซื้อไฟฟ้าจากทั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและจากหน่วยงานเอกชน ทั้งนี้ ค่าการแปลงหน่วยไฟฟ้าเป็นปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของแหล่งไฟฟ้าทั้งสองแหล่งมีอัตราที่แตกต่างกัน

ในอนาคต บริษัทฯมีแนวคิดในการเลือกซื้อไฟฟ้าจากผู้ขายที่มีค่าสัมประสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนแนวคิดการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ หรือ Nationally Determined Contribution ที่มุ่งเป้าให้ประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 30-40 จากกรณีปกติ

ทั้งนี้ บริษัทฯคาดการณ์ว่า หากสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตที่มีค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่า จะสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงจากเดิมร้อยละ 20 จากการใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งผลิตไฟฟ้าเดิม

การลดการใช้พลังงานในผลิตภัณฑ์

Reduction in Energy Requirement of Product and Service

 

โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่ระดับสากล

บริษัทฯดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานฉลากและประกาศด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Labels and Declaration ISO 14021) พร้อมทั้งศึกษาวิธีการขอรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products : CFP)

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ที่มีสวนผสมของวัตถุดิบรีไซเคิลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานการรับรองส่วนผสมรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ (Recycled Claim Standard : RCS)

 

        

ภาพแสดงการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ปี 2562-2565