การกำกับดูแลกิจการ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

             บริษัท เอ.เจ.พลาสท์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดหลักความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อผลงาน ตระหนักในหน้าที่ มีการดำเนินงานที่โปร่งใส ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติที่เป็นธรรมอย่างเสมอภาคและเป็นที่เชื่อถือของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้แก่กิจการและผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในระยะยาวเพื่อให้บริษัทฯ มีการเจริญเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนในอนาคต

คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายหรือหลักการในการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและเป็นหลักยึดถือในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการให้โครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ มีการกำหนดขอบเขตให้อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ในการกำหนดนโยบาย และทิศทางการดำเนินงานของบริษัทฯ กำกับดูแลฝ่ายบริหารให้ดำเนินการตามนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในระยะยาวของผู้ถือหุ้น ภายใต้กรอบของกฎระเบียบและจรรยาบรรณธุรกิจ โดยมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารจัดการ มีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายบริหารจัดการอย่างชัดเจน น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ
  2. ดำเนินการให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ของบริษัทฯ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้ระบบการควบคุมภายในที่ดี และมีการถ่วงดุลอำนาจที่เหมาะสมรวมทั้งมีการดำเนินงานที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และมีกระบวนการเปิดเผยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ดูแลให้มั่นใจว่าบริษัทไม่มีการกระทำใดที่เป็น การฝ่าฝืนกฎระเบียบของทางการ หรือการฝ่าฝืนทางกฎหมาย
  4. ดำเนินการให้เชื่อมั่นได้ว่ารายงานทางการเงินสะท้อนผลการดำเนินงานและแสดงฐานะที่แท้จริงรวมทั้งมีการประเมินและวางมาตรการในการป้องกันและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
(5)    ดำเนินการกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยความรอบคอบอย่างมีเหตุมีผล โดยยึดถือประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นที่ตั้ง
(6)    ปลูกฝังคุณธรรมและจิตสำนึกอันดีงามให้ผู้บริหารและพนักงานมีความประพฤติที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยและมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนและต่อทีมงานพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นและรู้จักตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
(7)    ตระหนักและเคารพในสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้น รวมทั้งสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียและปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้น ด้วยความเป็นธรรมและเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและมีช่องทางแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดกฎหมายหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ตลอดจนมีมาตรการการชดเชยในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย
(8)    ดำเนินการโดยคำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย และต่อชุมชมสังคมโดยส่วนรวมและคำนึงถึงความรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และหรือสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมตามสถานภาพของบริษัทฯ
(9)   ดำเนินการให้มีมาตรการป้องกันมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้ข้อมูลภายในเพื่อนำไปแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ
(10)  ดำเนินการตามกฎหมาย มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง นโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต และคอร์รัปชัน รวมถึงมาตรการและขั้นตอนในการดำเนินการกับผู้ที่ไม่กระทำตามนโยบายและแนวปฏิบัติ การรายงานเหตุการณ์ทุจริต และคอร์รัปชันหรือสงสัยว่ามีการทุจริต และคอร์รัปชัน หรือมีการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายหรือมีการกระทำที่ผิดปกติอื่น ซึ่งอาจกระทบต่อชื่อเสียงและฐานะการเงินของบริษัทฯ โดยจะต้องรายงานทันทีเพื่อจะได้รีบแก้ไขข้อบกพร่องหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งหามาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก เพื่อเป็นการส่งเสริมและปลูกฝังการต่อต้านการทุจริต และคอร์รัปชันให้กับพนักงานทุกคนและทุกระดับ

ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารทุกคน จะเป็นแบบอย่างทางด้านจริยธรรมและการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และจรรยาบรรณธุรกิจ ตลอดจนพิจารณาและทบทวนนโยบายหรือหลักการในการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงวางแผนที่จะพัฒนาและติดตามดูแลให้มีการดำเนินการตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ตลอดจนให้ผลตอบแทนระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้นทุกคนสืบไป

และได้กำหนดนโยบายการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังกล่าวเป็น 5 หมวดดังนี้

 หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น

       คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้ถือหุ้น จึงได้กำหนดไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และได้กำหนดแนวปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ถือหุ้นได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ การซื้อขายหรือโอนหุ้น การได้รับข้อมูลของบริษัทฯ อย่างเพียงพอ การเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงการใช้สิทธิลงคะแนนในเรื่องที่สำคัญของบริษัทฯ  รวมถึงการมีส่วนแบ่งในกำไร เป็นต้น

คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นในการประชุมผู้ถือหุ้น โดยจัดส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารประกอบการประชุมให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างเพียงพอ ครบถ้วน โดยหนังสือเชิญประชุมมีรายละเอียดระเบียบวาระการประชุม พร้อมความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ หนังสือมอบฉันทะทุกแบบตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด และรายชื่อกรรมการอิสระทั้งหมด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกที่จะมอบฉันทะให้เข้าประชุมแทนได้ รวมทั้งแผนที่แสดงสถานที่จัดประชุม นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับวาระการประชุมของแต่ครั้งได้ทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ( https://www.ajplast.co.th/set-news.php ) เป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุมอย่างน้อย 30 วันด้วย ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เปิดให้ผู้ถือหุ้นมีการลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการประชุมอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงเสมอ และมีการบันทึกรายงานการประชุมถูกต้อง ครบถ้วน

           คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น รวมถึงส่งเสริมการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ได้แก่ สิทธิในการได้รับสารสนเทศที่เพียงพอ ทันเวลา และในรูปที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุม และออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง นโยบายที่สำคัญของบริษัทฯ สิทธิในการเลือกตั้งและถอดถอนกรรมการ สิทธิในการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี  

การประชุมผู้ถือหุ้น
       คณะกรรมการของบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมประชุม ซึ่งเข้าร่วมประชุมโดยกรรมการบริษัทฯ กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ ก่อนเริ่มการประชุมทุกครั้ง ประธานกรรมการจะชี้แจงวิธีการลงคะแนนและนับคะแนนตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจน  โดยประธานกรรมการได้มีการจัดสรรเวลาการประชุมอย่างเพียงพอ  และดำเนินการประชุมอย่างเหมาะสมและโปร่งใส โดยในระหว่างการประชุมจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันได้ แสดงความคิดเห็น และซักถามอย่างทั่วถึง และข้อเสนอแนะต่างๆ ก่อนจะให้ลงคะแนนและสรุปมติที่ประชุมของแต่ละระเบียบวาระ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามเกี่ยวกับการประชุมถึงคณะกรรมการล่วงหน้าก่อนวันประชุม

 

หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม

             บริษัทฯ ให้ความสำคัญและดูแลให้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรม โดยได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) บริษัทฯ ได้ดำเนินการส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งรายงานการประชุมครั้งก่อน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1One Report) หนังสือมอบฉันทะ และแผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ประชุม ให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และไม่น้อยกว่า 14 วันในกรณีที่มีวาระพิเศษ

(2) บริษัทฯ กำหนดนโยบายให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงต้องแจ้งต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ อย่างน้อย 1 วันล่วงหน้า ก่อนทำการซื้อขาย

(3) ในการประชุมแต่ละครั้ง บริษัทฯ จะแจกใบลงคะแนนให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมก่อนการประชุมและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและผู้แทนได้ซักถามก่อนที่จะลงคะแนนในแต่ละมติ

(4) ดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลำดับระเบียบวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมเสมอ และมีนโยบายที่จะไม่เพิ่มวาระการประชุมโดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลประกอบระเบียบวาระก่อนตัดสินใจ

 

หมวดที่ 3  บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 

             บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ พนักงานและผู้บริหารของบริษัทฯ หรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่งทางการค้า หรือส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากบริษัทฯ ตระหนักถึงแรงสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ซึ่งจะสร้างความสามารถในการแข่งขัน และสร้างกำไรให้กับบริษัทฯ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความสำเร็จในระยะยาวของบริษัทฯ ได้

บริษัทฯ มีหน่วยงานบริหารกลางที่มีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ (Compliance Unit) 

 

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

             บริษัทฯ ได้มีการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยสารสนเทศ ซึ่งบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารที่ต้องแจ้งแก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และผู้ถือหุ้น ทั้งในด้านของความถูกต้อง  ความเพียงพอ ครบถ้วน  ความรวดเร็ว  ความเท่าเทียมกัน และความโปร่งใส ของการให้ข้อมูลแก่ทุกกลุ่ม ซึ่งการจัดเตรียมข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ และบริษัทฯ มีหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ คอยดูแลให้ข้อมูลและตอบข้อซักถาม ซึ่งในการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสของบริษัทฯ ที่สำคัญมีรายละเอียดดังนี้

(1)  ค่าตอบแทนกรรมการ

บริษัทฯ ได้กำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ไว้อย่างชัดเจน และโปร่งใส โดยค่าตอบแทนอยู่ในระดับเดียวกับอุตสาหกรรมที่มีขนาดใกล้เคียงกันและสูงเพียงพอที่จะดูแล และรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ และได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการตรวจสอบได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ และผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการเงิน สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแล นอกจากนี้ ค่าตอบแทนจะต้องเพียงพอที่จะดูแลและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ ที่พิจารณาจาก ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประสบการณ์ ทักษะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย และได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว

(2)  ค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร

ค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารเป็นไปตามหลักการ และนโยบายของบริษัทฯ โดยพิจารณาหน้าที่ ความรับผิดชอบ และผลการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารแต่ละท่าน สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ

(3) รายงานของคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัทฯ  และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1One Report) งบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวัง รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งข้อมูลทางการเงินที่ได้เปิดเผยให้กับผู้ถือหุ้นนั้นได้ผ่านการสอบทานในงบการเงินที่เป็นรายไตรมาส และได้ผ่านการตรวจสอบแล้วจากผู้สอบบัญชีที่เป็นงบการเงินรายปี

         

หมวดที่ 5  ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 

(1)   โครงสร้างของคณะกรรมการ

(1.1) องค์ประกอบของคณะกรรมการ

บริษัทฯ จะต้องมีกรรมการที่เป็นอิสระทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 1ใน 3ของกรรมการทั้งคณะ ดังนั้นการดำเนินการและการบริหารงานของกรรมการบริหารจึงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเป็นกลางของกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารและกรรมการอิสระ ซึ่งถือว่ามีการถ่วงดุลอย่างเพียงพอ คณะกรรมการจะต้องมีความหลากหลายทางในด้านทักษะวิชาชีพ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมทั้งความหลากหลายทางเพศและอายุ อีกทั้งพิจารณาความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ทักษะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย

(1.2) การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ

คณะกรรมการสรรหาจะทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการ เพื่อเสนอแนะต่อคณะกรรมการก่อนที่จะมีการสรรหากรรมการเมื่อครบวาระ และมีรายละเอียดตามองค์ประกอบและการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทฯ ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (One Report)

(1.3) การกำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระ

บริษัทฯ มีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระ และหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่พิจารณาถึงความหลากหลายทางด้านทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถและคุณลักษณะเฉพาะด้าน ตลอดจนเพศและอายุ และมีรายละเอียดตามองค์ประกอบและการแต่งตั้งกรรมการอิสระ และมีการระบุตำแหน่งของกรรมการอิสระไว้อย่างชัดเจน ควรมีการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 9 ปี โดยไม่มีข้อยกเว้น ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (One Report)

(1.4) การรวมหรือแยกตำแหน่ง

ประธานกรรมการไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับกรรมการผู้จัดการ แต่ทั้งสองท่านเป็นตัวแทนจากกลุ่มผถือหุ้นใหญ่กลุ่มเดียวกัน โดยมีบทบาท อำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบที่แบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างการบริหารและการกำกับดูแลกิจการที่ดี อย่างไรก็ตามโครงสร้างคณะกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระมากกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ ซึ่งจะทำให้เกิดการถ่วงดุล และการสอบทานการบริหารงานให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งคณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ สามารถดำรงตำแหน่งกรรมการหรืออื่นใดในบริษัทจดทะเบียนไม่เกิน 3 บริษัท และบริษัทอื่นหรือบริษัทย่อยที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนไม่เกิน 5 บริษัท

(1.5) เลขานุการบริษัทฯ

บริษัทฯ กำหนดให้เลขานุการบริษัทฯ จะต้องมีคุณสมบัติ ความรู้ และประสบการณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการ รวมถึง มีความรู้ความเชี่ยวชาญและคุณสมบัติในการบริหารงานที่สอดคล้องไปกับกลยุทธ์และทิศทางดำเนินงานของบริษัทฯ โดยเลขานุการบริษัทฯ มีวุฒิการศึกษาในด้านรัฐศาสตร์และการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งครอบคลุมองค์ความรู้ในด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ รวมถึงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับระหว่างประเทศ ทำให้เลขานุการบริษัทฯ สามารถทำหน้าที่ในการดูแลและให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับกฎเกณฑ์

ต่างๆ ที่คณะกรรมการจะต้องทราบ ปฏิบัติ และดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี รับผิดชอบการจัดประชุมคณะกรรมการและการประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงช่วยคณะกรรมการดูแลให้มีการปฏิบัติตามมติต่าง ๆ และการรักษาเอกสารข้อมูล รวมถึงเลขานุการบริษัทฯ จะต้องได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง

(2)   บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

(2.1)  นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
         คณะกรรมการบริษัทเชื่อมั่นว่าระบบและกระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำมาซึ่งความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี  เพื่อเพิ่มความโปร่งใส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ  เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ  ให้มีการเจริญเติบโตยิ่งขึ้น  คณะกรรมการบริษัทมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว โดยได้กำหนดนโยบาย และทิศทางการดำเนินงานของบริษัท กำกับดูแลฝ่ายบริหารให้ดำเนินการตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในระยะยาวของผู้ถือหุ้น ภายใต้กรอบข้อกำหนดของกฎหมาย และจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งครอบคลุม 5 หมวดตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศกำหนดนั้นได้แก่    สิทธิของผู้ถือหุ้น  การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน   บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย  การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส  และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

(2.2)  ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์
         บริษัทฯกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ชัดเจน ในการเป็นบริษัทชั้นนำในการผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติก และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบริษัทที่ทำการพัฒนาในด้านการผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติกและลงทุนอย่างต่อเนื่อง เป็นคู่ค้าที่ยุติธรรม มีความเป็นมืออาชีพ มีผลิตภัณฑ์และการบริการที่ดี ส่งเสริมและพัฒนาสังคมด้วยการเป็นผู้ประกอบการที่ดี และเน้นการทำงานอย่างปลอดภัย พร้อมกับรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริการลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และราคาที่เป็นธรรม เป็นไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทดูแลให้มีการจัดทำวิสัยทัศน์  เป้าหมาย  นโยบาย  ทิศทางการดำเนินงาน  แผนกลยุทธ์ระยะยาว   แผนงานและงบประมาณประจำปีของบริษัทฯ โดยมอบหมายให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้นำเสนอ  และคณะกรรมการบริษัทแสดงความคิดเห็นร่วมกับฝ่ายบริหารเพื่อให้เกิดความเห็นชอบร่วมกันก่อนที่จะพิจารณาอนุมัติ  และได้มีการกำหนด ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และกรรมการผู้จัดการ  โดยเฉพาะการกำหนดอำนาจหน้าที่การดำเนินการทางการเงินก็ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้ว ดังรายละเอียดในหัวข้อ โครงสร้างการจัดการ

(2.3)  ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
         บริษัทฯ ถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้โอกาสจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานบริษัทฯ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงกำหนดไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจ ถึงข้อปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ให้หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเองที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทและในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการเช่นนั้นเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ คณะกรรมการกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีราคาและเงื่อนไข  เสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก โดยที่กรรมการหรือพนักงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียในรายการนั้นจะต้องไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณาอนุมัติ และในกรณีที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันภายใต้ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัด
         นอกจากนี้ คณะกรรมการยังกำหนดข้อห้ามไม่ให้มีการใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หรือทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัท หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ ซึ่งทางบริษัทมีการป้องกันดังนี้
-    รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการได้ทราบถึงรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรายการที่เกี่ยวโยงกัน และได้พิจารณาความเหมาะสม อย่างรอบคอบทุกครั้ง รวมทั้งมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาและเงื่อนไขเสมือนทำรายการกับบุคคลภายนอก ซึ่งในปีที่ผ่านมาทางบริษัทฯไม่มีการทำรายการดังกล่าวข้างต้น
-    ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กรรมการและผู้บริหารจะต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ เมื่อแรกเข้ารับตำแหน่ง และรายงานทุกครั้งเมื่อมีการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการต่อ ก.ล.ต. และจะแจ้งให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบเป็นประจำ
          

 

 

(5) เสนอรายชื่อของกรรมการอิสระทั้งหมด ในหนังสือมอบฉันทะรูปแบบที่สามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนได้ให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่อสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดการลงคะแนนเสียงได้เอง รวมทั้งเป็นทางเลือกในการมอบฉันทะ และมีโอกาสสามารถเลือกการมอบฉันทะแก่กรรมการอิสระคนใดคนหนึ่ง

(6) บันทึกรายงานการประชุมอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และจัดส่งรายงานการประชุมต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังการประชุมเสร็จสิ้น 14 วันเสมอ และได้เผยแพร่รายงานดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ด้วย นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ภาพของการประชุมผู้ถือหุ้นไว้บนเว็บไซด์อีกด้วย

(7) กำหนดแนวทางการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น และมีการแจ้งเตือนไม่ให้ กรรมการ  ผู้บริหาร  พนักงานของบริษัทฯ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ใช้ข้อมูลภายในที่เป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น และยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนไปซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่าในสายงานการเงินและบัญชี จะต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯ เมื่อแรกเข้ารับตำแหน่ง และรายงานทุกครั้งเมื่อมีการซื้อขายหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการต่อ ก.ล.ต. และบริษัทฯ จะนำรายงานดังกล่าวรวบรวมเป็นระเบียบวาระแจ้งให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบเป็นประจำ

 

รวมถึงได้จัดให้มีช่องทางเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีโอกาสแสดงความเห็นและร้องเรียน ในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบริษัทฯ และประเด็นที่เกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายและจรรยาบรรณ รายงานการเงินและระบบควบคุมภายในได้ที่คณะกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ และทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ (www.ajplast.co.th) และบริษัทฯ มีกลไกคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียนโดยไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียน ซึ่งจะเก็บไว้เป็นความลับ รายละเอียดเพิ่มเติมในการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ เปิดเผยอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report)  

 

 

             คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือบรรษัทภิบาล (Good Corporate Governance) ขององค์กรเสมอมา และได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิผู้ถือหุ้นในการได้รับข้อมูลของบริษัทฯ ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ ทันเวลา และเท่าเทียมกัน สำหรับประกอบการตัดสินใจในการประชุมผู้ถือหุ้น โดยบริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทฯ สอบถาม แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ได้

ในการนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารและเป็นกรรมการอิสระ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายใน และความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งแสดงไว้ในรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1One Report) แล้ว

บริษัทฯ ได้มีนโยบายให้คณะกรรมการบริษัทฯ ต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์และมีนโยบายให้คณะกรรมการบริษัทฯ รายงานการมีส่วนได้ส่วนเสียทุกครั้งในการประชุมคณะกรรมการซึ่งได้กำหนดชัดเจนในวาระการประชุมคณะกรรมการทุกครั้ง

(4) นักลงทุนสัมพันธ์

คณะกรรมการให้ความสำคัญให้มีการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศทั้งทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงินที่เกี่ยวกับธุรกิจและผลประกอบการของบริษัทฯ ที่ตรงต่อความเป็นจริง ครบถ้วน เพียงพอ เชื่อถือได้และทันเวลา และแสดงให้เห็นถึงสถานภาพของการประกอบการและสถานภาพทางการเงินที่แท้จริงของบริษัทฯ รวมทั้งอนาคตของธุรกิจของบริษัทฯ โดยได้จัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเคร่งครัด โดยได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ทั้งโดยผ่านช่องทางและสื่อการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมทั้งมีการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์อย่างเหมาะสม

 

 

 

 

 

 

 

(2.4) จรรยาบรรณธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายที่จะให้ความสำคัญเท่าเทียมและควบคู่ไปกับความสำเร็จตามเป้าหมาย คณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้กำหนดเป้าหมายและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมายดังที่ระบุอยู่ในวิสัยทัศน์ หลักการ และนโยบายการกำกับดูแลกิจการ รวมทั้งได้กำหนดข้อพึงปฏิบัติไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อให้เกิดความชัดเจน สะดวกแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ  ที่จะได้รับทราบถึงมาตรฐานการปฏิบัติที่บริษัทฯ คาดหวัง และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน นับตั้งแต่การปฏิบัติต่อพนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่งขันทางการค้า และต่อสังคมส่วนรวม บริษัทฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายและข้อปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร จะต้องดูแลรับผิดชอบและถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะดำเนินการให้พนักงานภายใต้สายบังคับบัญชาของตนทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจอย่างจริงจัง

(2.5) ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน

บริษัทฯ มีนโยบายจัดให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ กับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ของหน่วยงานนั้น ๆ โดยให้ฝ่ายตรวจสอบภายในทำหน้าที่ติดตามผลการควบคุมภายในเป็นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงให้มาตรการควบคุมต่างๆ มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลง  คณะกรรมการบริษัทฯ มีการประเมินระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ มีความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ มีความเพียงพอและเหมาะสม สามารถป้องกันทรัพย์สินของบริษัทฯ อันเกิดจากการที่ผู้บริหารนำไปใช้โดยมิชอบ หรือโดยไม่มีอำนาจเพียงพอ และที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่มีข้อบกพร่องของระบบการควบคุมภายในที่จะมีผลกระทบ อย่างเป็นสาระสำคัญ และบริษัทฯ มีหน่วยงานทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินการ ตามแนวทางที่กำหนด และมีประสิทธิภาพ รวมถึงตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงมีการป้องกันและจัดการความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยมีการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

(3) การประชุมคณะกรรมการ

ในการประชุมแต่ละครั้ง โดยมีการกำหนดให้จัดการประชุมคณะกรรมการมากกว่า 6 ครั้งต่อปี และมีการจัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมระเบียบวาระการประชุมให้คณะกรรมการก่อนการประชุมล่วงหน้า 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม และมีการจัดสรรเวลาการประชุมอย่างเหมาะสม รวมทั้ง มีการจัดกำหนดและจัดทำตารางการประชุมล่วงหน้าประจำปี

ในการประชุมกรรมการทุกท่านมีโอกาสอภิปรายและแสดงความเห็นอย่างเปิดเผย โดยมีประธานกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้ประมวลความเห็นและข้อสรุปที่ได้จากที่ประชุม  ในกรณีที่กรรมการผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องที่กำลังพิจารณาต้องออกจากการประชุมระหว่างการพิจารณาเรื่องนั้นๆ จำนวนองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการบริษัทฯ อยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และโดยเฉลี่ยกรรมการทั้งคณะจะต้องเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของการประชุมคณะกรรมการทั้งหมดในรอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งกรรมการแต่ละท่านจะต้องเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของการประชุมทั้งปี

(4) ค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร

(4.1) ค่าตอบแทนกรรมการ

บริษัทฯ ได้กำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ไว้อย่างชัดเจน และโปร่งใส โดยค่าตอบแทนอยู่ในระดับเดียวกับอุตสาหกรรมที่มีขนาดใกล้เคียงกันและสูงเพียงพอที่จะดูแล และรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ และได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการตรวจสอบได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ และผลการ

ประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการเงิน สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแล นอกจากนี้ ค่าตอบแทนจะต้องเพียงพอที่จะดูแลและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ ที่พิจารณาจาก ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประสบการณ์ ทักษะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย และได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว

(4.2) ค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร

ค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารเป็นไปตามหลักการ และนโยบายของบริษัทฯ โดยพิจารณาหน้าที่ ความรับผิดชอบ และผลการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารแต่ละท่าน สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร

โดยกำหนดรายละเอียดของค่าตอบแทนระยะสั้นและระยะยาวของกรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร ดังนี้

(4.2.1) ค่าการตอบแทนระยะสั้น

บริษัทฯ กำหนดการจ่ายค่าตอบแทน ตามโครงสร้างค่าจ้างที่เหมาะสม เป็นไปตามกฎหมายแรงงานของประเทศที่เป็นพื้นที่ตั้งของสถานประกอบการ ที่ไม่น้อยกว่าอัตราจ้างขั้นต่ำ สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างแรงงานในตลาดที่เกี่ยวข้อง และเทียบกับอัตราการจ่ายทั่วไปขององค์กรอื่นที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันอย่างเหมาะสม อีกทั้ง บริษัทฯ ยังมีการจ่ายโบนัสประจำไตรมาส และประจำปี ตามการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารรายบุคคล และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ

(4.2.2) ค่าการตอบแทนระยะยาว

บริษัทฯ กำหนดให้มีการจ่ายค่าตอบแทนตามการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งสอดคล้องไปกับตัวชี้วัด และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่สอดคล้องไปกับแผนการดำเนินธุรกิจ และเป้าหมายของบริษัทฯ ในระยะยาว และยังมีสวัสดิการต่างๆ นอกจากค่าตอบแทน ให้แก่กรรมการผู้จัดการและผู้บริหาร เช่น การสนับสนุนประกันสุขภาพและประกันภัยอุบัติเหตุ การตรวจสุขภาพประจำปี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การสนับสนุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามสถานการณ์ เป็นต้น

(5) การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายการพัฒนากรรมการบริษัทฯ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยเข้าร่วมการสัมมนา/อบรม/ประชุมกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ และสถาบันที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

 




ดาวน์โหลด

  • นโยบายการสรรหากรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการ (ไทย)
  • นโยบายด้านภาษี (ไทย)
  • นโยบายการกำกับดูแลกิจการ (ไทย)
  • ข้อบังคับบริษัท (อังกฤษ)
  • ข้อบังคับบริษัท (ไทย)