การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

น้ำจัดเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ การดำรงชีวิต และการดำเนินกิจกรรม เนื่่องจากมีีความสำคััญทั้งในด้้านอุุตสาหกรรม การเกษตร และกิิจกรรมอื่่น ๆ ของมนุุษย์์ ในปัจจุุบัันการขยายตััวของภาคอุุตสาหกรรมและการเปลี่่ยนแปลงของสภาพภููมิิอากาศที่่ทวีีความรุุนแรงมากขึ้น ส่่งผลต่่อปริิมาณและคุุณภาพของทรััพยากรน้ำ ทั้งภััยธรรมชาติิ ส่งผลให้ฤดููกาลแปรปรวน ส่่งผลต่่อปัญหาการขาดแคลนน้ำ (ภััยแล้้ง) ปัญหาน้ำหลาก (น้ำท่วม) และปัญหาการเข้้าถึึงแหล่่งน้ำ ซึ่่งนัับเป็นประเด็็นปัญหาสํําคััญที่่ส่่งผลต่่อเศรษฐกิิจ สัังคม และสิ่่งแวดล้้อม ปัจจุบันประเทศต่่าง ๆ ทั่วโลกต่่างให้้ความสำคััญกัับการบริิหารจััดการทรััพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น

ประเทศไทยจัดเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการในกิจกรรมทางธุรกิจและกิจกรรมของพนักงานบริษัทฯ จึงเป็นประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ ทั้งในด้านความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำสำหรับกระบวนการผลิต การเกิดน้ำท่วม การควบคุมคุณภาพน้ำก่อนระบายออกสู่ธรรมชาติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และชุมชนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว และการให้ความสำคัญแก่ทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน จึงมีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเป็นการตอบสนองเป้าหมายที่ 6 ของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เรื่อง “สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืนคน”

บริษัทฯ ดำเนินโครงการและแผนการบริหารจัดการน้ำมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงควบคุมคุณภาพน้ำก่อนปล่อยออกจากโรงงานให้สอดคล้องตามมาตรฐานการปล่อยน้ำทิ้งที่กฎหมายกำหนด และพัฒนากระบวนการนำน้ำเสียกลับมาใช้ซ้ำหรือลดการใช้น้ำ นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นสร้างเครือข่ายร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการน้ำทั้งระดับพื้นที่และระดับประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนตลอดจนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ดังนี้

เป้าหมายปี 2566

เป้าหมายระยะยาว

1.ลดการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

2.เพิ่มปริมาณน้ำกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีเดียวกัน

1.ลดการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงร้อยละ 5 ภายในปี 2568 จากปีฐาน 2564
2.เพิ่มปริมาณน้ำกลับมาใช้ใหม่ร้อยละ 5 ภายในปี 2568 เมื่อเทียบกับปีเดียวกัน

 

การบริหารจัดการน้ำ

1.กำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม และตั้งเป้าหมายลดการใช้ทรัพยากรน้ำทั้งระยะสั้นและระยะยาว

2.จัดทำแผนภูมิกระบวนการ (Process Flow Diagram) และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพน้ำเข้าและคุณภาพน้ำออก ตรวจวัดการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการวางแผนระบบเปิดปิดน้ำอัตโนมัติ

3.ศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวจาก World Resources Institute รวมถึงนำเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการวางแผนบริหารจัดการน้ำ เช่น การวิเคราห์ความเครียดน้ำ (Water Stress) ในพื้นที่โรงงาน เพื่อวางแผนการจัดการน้ำได้อย่างเหมาะสม

4.ตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุดหรือก่อให้เกิดการสูญเสียน้ำโดยไม่จำเป็น โดยยึดตามหลัก 5Rs กล่าวคือ Reduce, Reuse, Recycle, Refuse และ Renewable

5.จัดทำโครงการต่างๆ อาทิ ดำเนินการนำน้ำฝนมาใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทในช่วงฤดูฝนเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการใช้น้ำ

6.จัดเตรียมพื้นที่กักเก็บน้ำประปาสำรองในบริเวณพื้นที่โรงงาน เพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านภัยแล้ง และยังเป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพผ่านโครงการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Water Reuse)

 

การบริหารจัดการน้ำทิ้ง

บริษัทฯ ติดตามและเฝ้าระวังการปล่อยน้ำเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยกำหนดนโยบายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม หรือแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีพารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง อาทิ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (Chemical Oxygen Demand: COD) ปริมาณความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (Biological Oxygen Demand: BOD) ปริมาณสารแขวนลอย (Total Suspended Solid: TSS) น้ำมัน ไขมัน โลหะหนัก เช่น ปรอท (Hg) สารหนู (As) เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการตรวจวัดคุณภาพของการระบายน้ำทิ้งทุกวัน เพื่อติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน

 

แนวทางและมาตรการในการบริหารจัดการน้ำทิ้งและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

1.หมั่นทำความสะอาดและเฝ้าระวังบริเวณที่อาจเกิดการรั่วไหลหรือมีความเสี่ยงในการใช้สารเคมีต่างๆ ขณะที่มีการใช้งาน

2.จัดเตรียมวัสดุดูดซับสารเคมีไว้ในจุดบริเวณใกล้เคียงที่มีการใช้สารเคมีพร้อมเพิ่มถังขยะอันตราย เพื่อรองรับขยะอันตรายในสถานการณ์ฉุกเฉิน

3.จัดอบรมให้ความรู้ OPL (ONE POINT LESSON) หัวข้อ การระงับเหตุรั่วไหลฉุกเฉินให้กับพนักงานและพนักงานเริ่มงานใหม่ ประจำทุกไตรมาส เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการระงับเหตุรั่วไหลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยตั้งเป้าหมายการเข้าร่วมการอบรมของพนักงานร้อยละ 100 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด

การวิเคราะห์ความตึงเครียดของน้ำ

จากผลวิเคราะห์ความตึงเครียดน้ำของสถาบันทรัพยากรโลก (World Resource Institute: WRI, Aqueduct Water Risk Atlas and the WWF : Physical Risk Quality, Water Stress Filter) พบว่า ระดับความตึงเครียดของแหล่งน้ำในพื้นที่ของโรงงาน พบว่ามีความตึงเครียดของน้ำในระดับร้อยละ 40-80 (สูง) และพบว่าปัญหาการแย่งชิงน้ำและการขาดแคลนน้ำเท่ากับ 0

 

ตารางแสดงระดับความตึงเครียดของน้ำ

สถานที่

ต่ำ

ปานกลางค่อนข้างต่ำ

ปานกลางค่อนข้างสูง

สูง

สูงมาก

(<10%)

(10-20%)

(20-40%)

(40-80%)

(>80%)

โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

 -

 -

 -

x

 -

โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5

 -

 -

 -

x

 -

อ้างอิง: https://www.wri.org/applications/aqueduct/water-risk-atlas

 

ตารางแสดงปริมาณการใช้น้ำกับสัดส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ตามระดับความตึงเครียดของแหล่งน้ำ       

สถานที่

ระดับความตึงเครียดของน้ำ

ปริมาณการใช้น้ำ(ลูกบาศก์เมตร)

ปริมาณการผลิต(ตัน)

ปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยการผลิต(ลบ.ม./ตัน)

โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

สูง (40-80%)

226,432

102,763

2.20

โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5

สูง (40-80%)

45,731

43,405

1.05

หมายเหตุ:

  1. ปริมาณการใช้น้ำ (ลูกบาศก์เมตร) มาจากปริมาณน้ำใช้ในอุปกรณ๋ UT Cooling Water System, UT Chiller System, Production, Remelting Proces Line and Other
  1. ปริมาณการผลิต (ตัน) มาจากการเก็บข้อมูล ปริมาณการผลิตม้วนฟิล์มของฝ่ายผลิต บริษัท เอ. เจ. พลาสท์ จำกัด (มหาชน)

 

มาตรการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (Corporate Water Stewardship)

บริษัทฯ ดำเนินการกำหนดมาตรการรับมือกับระดับความตึงเครียดของน้ำ ดังต่อไปนี้

-จัดทำแผนภูมิกระบวนการ (Process Flow Diagram) และวิเคราะห์ข้อมูลของคุณภาพน้ำเข้าและน้ำออก และตรวจวัดการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการวางระบบเปิด-ปิดน้ำอัตโนมัติ และระบบตรวจติดตามการใช้น้ำอัตโนมัติ

-มีการประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่การประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการของ World Resource Intitule (WRI) เพื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านน้ำต่อการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทฯ ในประเทศไทย โดยพบว่า ความตึงเครียดของน้ำในพื้นที่ของโรงงานมีระดับร้อยละ 40-80 (สูง)  ดังนั้นบริษัทฯ จึงกำหนดมาตรการดูแลและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์โดยยึดตามหลัก 5Rs โดยการลดการใช้นํ้าโดยการใช้เท่าที่จำเป็น การนำน้ำกลับมาใช้ซํ้าให้คุ้มค่ามากที่สุด ลดและเลิกใช้สารเคมีอันตรายที่ก่อให้เกิดน้ำเสียปนเปื้อน รวมถึงการนำนํ้าเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาปรับปรุงคุณภาพและนำกลับไปใช้ใหม่ และจัดทำโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการใช้น้ำ โดยการกำหนดมาตรการบริหารจัดการน้ำในการดำเนินกิจการ ประกอบด้วย

1.การนำหลัก 5Rs มาใช้ในกระบวนการซ่อมบำรุง รวมถึงการวางแผนการซ่อมบำรุง การสำรวจจุดรั่วซึมของระบบท่อในโรงงาน และตรวจสภาพของระบบการจ่ายน้ำในกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานเพื่อการลดการสูญเสียน้ำในกระบวนการผลิต

2.มีการการสื่อสาร หลัก 5Rs สอดคล้องแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายในโรงงาน เพื่อลดการสูญเสียน้ำในกระบวนการผลิต

3.การจัดเตรียมพื้นที่กักเก็บน้ำประปาสำรองในบริเวณพื้นที่โรงงาน ปริมาณรวม 1,400 ลูกบาศก์เมตร และมีกระบวนการตรวจสอบปริมาณน้ำสำรองทุกสัปดาห์

4.โครงการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ บ่อกักเก็บน้ำฝน ขนาด 10,000 ลูกบาศก์เมตร เพิ่มการใช้แหล่งน้ำทางเลือก เพื่อลดการใช้น้ำ ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 รวมทั้งสำรองสำหรับการดับเพลิงหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เป็นต้น

5.โครงการถังกรองกักเก็บบริเวณผิวน้ำ  มาใช้ในการกรองน้ำจากอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิขนาด 0.16 ลูกบาศก์เมตร และนำน้ำกรองแล้วหมุนเวียนมาใช้ซ้ำ ซึ่งสามารถลดการใช้น้ำลง เป็นต้น

6.โครงการการหมุนเวียนน้ำชนิด Brine Water ที่ผ่านการใช้งานในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ในระบบระบายความร้อน (Cooling System) ของเครื่องจักร

7.โครงการลดการใช้น้ำในระบบทำความเย็น โดยการติดตั้งระบบทำความเย็นใหม่ที่ใช้การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Chiller) แทนระบบเดิมที่ใช้น้ำ

ผลการดำเนินงาน

ตารางแสดงแหล่งน้ำใช้

สถานที่

ซื้อน้ำจาก

แหล่งน้ำ1

ปริมาณการซื้อน้ำ

ความแตกต่าง

2566

2565

(%)

โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

น้ำประปาจากแม่น้ำบางปะกง

226,432

239,907

 6

โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

น้ำประปาจากแม่น้ำบางปะกง

45,731

-

-

หมายเหตุ :

  1. หน่วย เป็นลูกบาศก์เมตร
  2. ข้อมูลทั้งพื้นที่โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และโรงงานที่ปิ่นทองจังหวัดชลบุรี

 

ตารางแสดงปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์และปริมาณการนำน้ำหมุนเวียนกลับมาใช้

สถานที่

รายละเอียด

ค่าเป้าหมาย(เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า)

2566

2565

โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์(ลูกบาศก์เมตรต่อตัน)

1%

2.20

1.45

ปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีเดียวกัน(%)

1%

63.34

5.0

โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5

ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์(ลูกบาศก์เมตรต่อตัน)

1%

1.05

-

ปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีเดียวกัน(%)

1%

25.33

-

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ: ข้อมูลทั้งพื้นที่โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 จังหวัดชลบุรี

ในปี 2566บริษัทฯ มีอัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเท่ากับ 226,432ลูกบาศก์เมตรต่อตันการผลิต ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2565 และมีปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนจำนวน 143,416ลูกบาศก์เมตร หรือเท่ากับร้อยละ 63.34 เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีเดียวกัน โดยมาจากปริมาณน้ำหมุนเวียนในระบบระบายความร้อนของเครื่องจักร  และโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 เท่ากับ 45,731ลูกบาศก์เมตร และ ปริมาณการใช้น้ำหมุนเวียนจำนวน 11,585 ลูกบาศก์เมตร

บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการใช้น้ำและการเพิ่มการใช้น้ำหมุนเวียน ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการใช้ปริมาณน้ำจากการกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในกิจกรรมธุรกิจของบริษัทฯ คาดว่าจะดำเนินการลดปริมาณการใช้น้ำในปี 2567 ได้อย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูฝน

 

ตารางแสดงปริมาณการปล่อยน้ำทิ้ง

รายการ

หน่วย

ผลการดำเนินการปี 2566

ค่าความเป็นกรดด่าง

-

6.64

ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ

mg/L

312.58

ปริมาณสารแขวนลอย

mg/L

73.96

ปริมาณความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี

mg/L

93.46

 

ในปี 2566 พบว่าค่าความเป็นกรดด่าง (pH)  ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ (COD)และปริมาณสารแขวนลอย (SS) และปริมาณความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (BOD)สอดคล้องกับมาตรฐาน

 

โครงการการบริหารจัดการน้ำ

โครงการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Water Reuse)

ในปี 2566 บริษัทฯ ริเริ่มใช้บ่อกักเก็บน้ำฝน ขนาด 10,000 ลูกบาศก์เมตร ในช่วงฤดูฝนโดยมีระบบการกรองเศษขยะหรือใบไม้ก่อนนำเข้าสู่ถังเก็บ เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆในสาธารณูปโภค ซึ่งหลังจากการเริ่มโครงการบริษัทฯสามารถลดการใช้น้ำประปาลงได้ ประมาณ 21,114 ลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือประมาณ 500,000 บาทต่อปี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5.4  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

โครงการถังกรองกักเก็บบริเวณผิวน้ำ (Skimming Tank)

ในปี 2566 บริษัทฯ มีแผนติดตั้งถังกรองกักเก็บบริเวณผิวน้ำ   (Skimming Tank) ซึ่งมี ถ่านกัมมันต์ช่วยในการกรอง กักเก็บสิ่งสปรกบริเวณผิวน้ำ และกำจัดออก โดย ถ่านกัมมันต์มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับสูง จากโครงสร้างที่มีรูพรุนขนาดเล็กจํานวนมาก ช่วยให้สามารถดูดซับและกักเก็บสิ่งสปรกและช่วยบำบัดน้ำให้สะอาด หลังจากการใช้งาน ถ่านกัมมันต์ที่มีสิ่งสกปรก จะผ่านกระบวนการล้างย้อน เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้งานซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน ถ่านกัมมันต์จะถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป

บริษัทฯ วางแผนที่จะนำถังกรองน้ำ (Skimming Tank) มากรองน้ำเสียจากอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ เนื่องจากมีการปนเปื้อนจากการควบคุมอุณหภูมิ และมีการปล่อยน้ำทิ้งจากการปนเปื้อนเพื่อส่งไปบำบัดต่อไป ส่งผลให้มีการเติมน้ำความบริสุทธิ์สูง เข้าสู่อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ ดังนั้นเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำจาก น้ำความบริสุทธิ์สูง ที่ใช้ในกระบวนการผลิต จีงใช้ระบบดังกล่าวในการลดการใช้น้ำความบริสุทธิ์สูง ลงประมาณ 18,250 ลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือคิดเป็นเงินประมาณ 529,250 บาทต่อปี และยังสามารถบำบัดน้ำขั้นต้นก่อนปล่อยลงสู่กระบวนการถัดไป