การบริหารนวัตกรรม

 

      ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน เป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับผู้บริโภคที่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างคุ้มค่า การทิ้ง การจัดเก็บ การนำไปกำจัดที่ขาดประสิทธิภาพ และการขาดแคลนทรัพยากร รวมถึงปัญหาทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งมีการออกกฎหมายในการลดการใช้ยกเลิกการใช้พลาสติกหรือเก็บภาษีนำเข้าซึ่งมีแนวโน้มจะเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะกลางและระยะยาว เช่น การเปลี่ยนแปลงของยอดขายแต่ละผลิตภัณท์ อันเนื่องมาจากแนวโน้มความต้องการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นต้น บริษัทฯ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และมุ่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งปัจจุบันและอนาคต

      บริษัทฯ มุ่งเน้นการวิจัย พัฒนา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และตอบสนองต่อความต้องการ และความพึงพอใจของลูกค้า โดยการกำหนดนโยบายส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมในกระบวนการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อตอบโจทย์ด้านความคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยงานที่ดูแลและกำกับงานวิจัยและนวัตกรรม

    หน่วยงานที่ส่งเสริมและคิดค้นพัฒนานวตกรรมผลิตภัณฑ์ คือ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ซึ่งรายงานตรงต่อกรรมการผู้จัดการ หน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่ในการรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขั้นเชิงธุรกิจ โดยมีการเปรียบเทียบข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางธุรกิจในตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและนวตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เป็นไปตามความต้องการลูกค้าและทันต่อสถานการณ์แนวโน้มกระแสของลูกค้าในขณะนั้น

 

นโยบายการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ

     บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความต้องการของผู้บริโภค สังคม และกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  และให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรมกระบวนการผลิต รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานภายนอก  เพื่อตอบโจทย์ด้านความสะดวกสบาย ความปลอดภัยของผู้บริโภค และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 
 

กระบวนการบริหารนวัตกรรม

 

 

เป้าหมาย

1 ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมใหม่

46 ล้านบาท งบด้านการวิจัยและพัฒนา

1 ล้านบาท งบด้านความยั่งยืน

 

แนวทางการบริหารนวัตกรรมในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์

     ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการจัดทำโครงการจัดการนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าโดยสอดคล้องไปกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ผ่านแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ขององค์กร ในปี 2566 บริษัทฯ มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ รวมทั้งดำเนินการในกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

     - ลงทุนในบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ

     ควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และช่วยพัฒนาบุคลากรภายในบริษัทฯ ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ดำเนินการควบคุมมาตรฐานตามมาตรการขององค์กรอย่างเคร่งครัด

     - ลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

     พัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมการดำนินงานและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด ทั้งในประเทศและระดับโลก ลดการใช้เม็ดวัตถุดิบดั้งเดิม (Petroleum-based) การนำขยะอินทรีย์หรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ รวมถึงพลาสติกรีไซเคิลไปบดหลอมและผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตได้ใหม่ การลดขยะพลาสติก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

     - ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่

   เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอมีเครื่องจักรใหม่ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูง และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลังงาน ลดการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงงานและกระบวนการผลิตและการติดตั้งระบบดูดกลับเศษฟิล์มกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยตรงเพือลดการใช้เม็ดพลาสติกลง จากการรีไซเคิลโดยตรงกลับเข้าสู่กระบวนการ

     - ลงทุนขยายฐานการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

   ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นการขยายฐานการผลิตจึงมีความจำเป็น โดยปัจจุบันทางบริษัทฯได้ดำเนินการขยายกำลังการผลิตในประเทศไทย ที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี และการขยายฐานการผลิตที่ประเทศเวียดนาม

 

การบริหารนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์

     บริษัทฯ มุ่งพัฒนาและผลิตฟิล์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มาตลอดหลายปี โดยมุ่งมั่นที่จะส่งต่อแนวความคิดด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เกิดการปลูกฝังวัฒนธรรม รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ทั้งฟิล์มพลาสติกชีวภาพ (Bio-Based Film) ฟิล์มพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable Film) ฟิล์มพลาสติกจากพลาสติกที่ใช้แล้ว (Post-Consumer Recycled Film: PCR Film) ฟิล์มพลาสติกจากพลาสติกรีไซเคิลจากกระบวนการผลิต (Post-Industrial Recycled Film: PIR Film) และฟิล์มพลาสติกที่ผลิตจากพลาสติกชนิดเดียวกันทั้งหมด (Mono-Material Film) และยังพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ให้ความสำคัญในการควบคุมคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ทุกชนิด โดยฟิล์มพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องมีคุณสมบัติเพียงพอต่อการใช้งานและความต้องการของลูกค้า รวมถึงผู้บริโภคด้วย และยังให้ความสำคัญต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม 

ประเภทผลิตภัณฑ์ฟิล์มที่มีนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม (Green Products)

1. ฟิล์ม ฺBio-Based

    ฟิล์มพลาสติกชีวภาพที่บริษัทฯ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ฟิล์มพลาสติกชีวภาพ BOPP (Bio-Based BOPP) ฟิล์มพลาสติกชีวภาพ CPP (Bio-Based CPP) ฟิล์มพลาสติกชีวภาพ BOPA (Bio-Based BOPA)และฟิล์มพลาสติกชีวภาพชนิดย่อยสลายได้วยวิธีทางธรรมชาติ (Biodegradable Film)

 

 

 

2. ฟิล์ม Post-Consumer Recycled Film: PCR

     ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก จนเกิดปัญหามลภาวะขยะ ทั้งทางภาคพื้นดินและทางน้ำ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต การนำขยะจากการบริโภคกลับเข้าสู่กระบวนการกลับมาใช้อีกครั้ง จึงเป็นอีกทางเลือกในการลดขยะให้น้อยลงได้ โดยบริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Post-Consumer Recycled Film โดยบริษัทฯ ผลิตทั้งหมด 2 ชนิด คือ Post-Consumer Recycled Biaxially Oriented Polyethylene Terephthalate Film (PCR BOPET Film) และ Post-Consumer Recycled Biaxially Oriented Polyamide Film (PCR BOPA Film)

     ฟิล์ม PCR BOPET

     ปัญหาขยะพลาสติกที่เป็นปัญหาระดับโลก และประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาการปล่อยขยะลงสู่ทะเล บริษัทฯ มีการดำเนินการร่วมมือกับบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นคู่ค้ารายสำคัญของบริษัทฯ และเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) จากขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาเข้ากระบวนการรีไซเคิลกลับมาเป็นเม็ดพลาสติก โดยนำมาผลิตเป็นฟิล์มพลาสติกชนิด PCR BOPET นำขยะพลาสติกรีไซเคิลกลับมาเป็นเม็ดพลาสติกอีกครั้ง ผ่านกระบวนการบด หลอมด้วยความร้อน และหลอมอัดฉีด (Extrusion) ออกมาเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งเป็นการลดปัญหาขยะพลาสติกจากการบริโภคให้ลดลง โดยนำขยะพลาสติกหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตฟิล์มพลาสติก รวมถึงเป็นการสนับสนุนแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

     โดยในปี 2566 บริษัทฯ มียอดขายรวมของฟิล์มพลาสติก PCR BOPET ประมาณ 5 ล้านบาท และสามารถลดการใช้เม็ดพลาสติกจากฟอสซิลโดยการเปลี่ยนมาใช้เม็ดพลาสติก PET จากพลาสติกที่ใช้แล้วประมาณ 59 ตัน คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ 160 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

     ฟิล์ม PCR BOPA

     การพัฒนาฟิล์มพลาสติก BOPA จากพลาสติกที่ใช้แล้ว โดยนำเม็ดพลาสติกพอลิเอไมด์ (PA) ที่ผลิตจากขยะพลาสติกต่างๆ (Mixed Plastic Waste) ผ่านกระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) กลับมาเป็นเม็ดพลาสติก PA โดยได้รับความร่วมมือจากเครือบริษัท บีเอเอสเอฟ และนำเม็ดพลาสติก PAที่ผ่านการรีไซเคิลกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติกอีกครั้ง ซึ่งเป็นการลดปัญหาขยะพลาสติกจากการบริโภคให้ลดลงเช่นกัน

    โดยในปี 2564 บริษัทฯ พัฒนาฟิล์ม PCR-BOPA ได้เป็นที่สำเร็จ และในปี 2565 ดำเนินการผลักดันเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดการใช้เม็ดพลาสติกจากฟอสซิลและเปลี่ยนมาใช้เม็ดพลาสติก PA จากพลาสติกที่ใช้แล้วเป็นการทดแทน

 

3. ฟิล์ม Post-Industrial Recycled Film: PIR

    กระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติกจะมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นเสมอ บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะนำขยะพลาสติกกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติกให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการลดขยะพลาสติกที่เกิดจากกระบวนการผลิต ช่วยลดขยะที่จะออกสู่ภายนอกโรงงานและชุมชนโดยรอบ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติก โดยสามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกครั้ง อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ ในปี 2566 บริษัทฯ ลดการใช้เม็ดพลาสติกจากฟอสซิลจากขยะพลาสติกภายในโรงงาน เท่ากับ 14,072 ตันและยอดขายของฟิล์มพลาสติก PIR ทั้งหมดประมาณ 652 ล้านบาทคิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ 23,828 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

4. ฟิล์ม Mono-Material

     บริษัทฯ มุ่งมั่นและสนับสนุนลูกค้าอย่างต่อเนื่องในแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ฟิล์มพลาสติกที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นฟิล์มพลาสติกเพียงชนิดเดียว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบ สามารถนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ และสามารถนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชนิดเดียวกันทั้งหมด (Mono-Material Packaging) ได้ อีกทั้งบริษัทฯ ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟิล์ม BOPP ร่วมกับลูกค้า เช่น ลูกค้าที่ผลิตบรรจุภัณฑ์ให้กับบริษัทที่ผลิตและจัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยว เป็นต้น โดยให้ความร่วมมือในการสนับสนุนแนวความคิดที่บรรจุภัณฑ์มาจากวัสดุชนิดเดียวกัน (Mono-Material) เพื่อดำเนินการตามการใช้งานและความต้องการของลูกค้า ให้ลูกค้าสามารถนำไปผลิตได้จริง

5. ฟิล์ม High-Barrier BOPP

   ฟิล์มที่มีคุณสมบัติเป็นตัวกั้นผ่านสูง พัฒนาเพื่อลดหรือทดแทนการใช้ฟิล์ม Metallized ที่มีคุณสมบัติในการกั้นผ่านไอน้ำและก๊าซได้สูง โดยฟิล์ม High-Barrier BOPPเป็นฟิล์มชนิด BOPP ที่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติในการกั้นผ่านสูง เมื่อนำไปประกบกับฟิล์มชั้นอื่นๆ ที่เป็นชนิด PP และ PE ทำให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุชนิด เดียวกัน (Mono-Material Packaging) จัดเป็นชนิด Polyolefins (PP, PE)

 

การบริหารนวัตกรรมด้านการผลิต

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรในสายการผลิต

     สายการผลิตฟิล์มพลาสติก BOPP ใหม่ ซึ่งมีหน้ากว้างเครื่องจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 49 ส่งผลให้ผลผลิตต่อชั่วโมงเพิ่มมากขึ้นและใช้พลังงานลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เท่ากับ 0.35 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/กิโลกรัม และลดการใช้พลังงานเท่ากับ 17.5 กิโลวัตต์-ชั่วโมงคิดเป็น 91 ล้านบาท

 

โครงการพัฒนาระบบดูดกลับเศษฟิล์มกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยตรง

     โครงการที่ติดตั้งระบบการดูดกลับเศษฟิล์มพลาสติกที่เหลือทิ้ง จากกระบวนการตัดขนาดฟิล์มพลาสติกและถูกดูดกลับเข้าระบบ ส่งกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตผสมกับเม็ดพลาสติกและนำเข้ากระบวนผลิตฟิล์มพลาสติกอีกครั้ง ซึ่งเป็นการลดการใช้เม็ดพลาสติกและลดการใช้พลังงานเท่ากับ 217,125 กิโลวัตต์-ชั่วโมงคิดเป็น 1 ล้านบาท

 

โครงการพัฒนาตัวดักฝุ่นโดยใช้กระบวนการควบแน่น (Cooling Trap)

     โครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของตัวดักฝุ่นโดยใช้กระบวนการควบแน่นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงตัวดักฝุ่นฯ ให้เพิ่มพื้นที่ภายในให้สามารถเก็บฝุ่นได้มากขึ้นและยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานตัวดักฝุ่นฯ ได้นานขึ้น ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนในการซื้อตัวดักฝุ่นฯ ลดลงและยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เพิ่มขึ้นลดการหยุดเครื่องจักรลง  ปี 2566 บริษัทฯ ได้กำไรจากยอดขายฟิล์มที่ผลิตได้มากขึ้น เนื่องจากการลดการหยุดเครื่องจักร เท่ากับ 3.78 ล้านบาท

 

โครงการพัฒนา Cooling Tower ระบบปิด

     สายการผลิตฟิล์มพลาสติกใหม่ ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 ดําเนินการพัฒนา Cooling Tower ให้เป็นระบบปิด เพื่อลดการปนเปื้อนฝุ่นของน้ําเย็น และลดการใช้ Plate Heat ลงซึ่งเป็นลดการใช้พลังงานลง