การบริหารจัดการพลังงาน

พลังงานเป็นทรัพยากรที่สําคัญสําหรับทุกภาคส่วนบริษัทฯ จึงตระหนักดีว่าการใช้พลังงานในการดำเนินงานถือเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ จึงได้ติดตามความเคลื่อนไหวของการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Nationally Determined Contribution (NDC) ซึ่งยื่นต่อสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ของประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2608 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นส่วนหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ในสาขาพลังงาน แนวคิดในการจัดทำโครงการลดการใช้พลังงานของบริษัทฯ จะเป็นไปเพื่อการสนับสนุนแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งมีเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงานลดร้อยละ 30 ภายในปี 2580 และ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งมุ่งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในรูปของพลังงานไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ ต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580

ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯจึงตระหนักถึงความท้าทายของการบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการใช้พลังงานและตั้งเป้าหมายที่จะปรับการดำเนินการไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero Emissions) โดยพัฒนาการบริหารจัดการพลังงาน ที่ชัดเจน เชื่อถือได้ และใช้งานได้จริง สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนของโรงงาน เนื่องจากพลังงานเป็นต้นทุนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยมีการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (ฉบับแก้ไข พ.ศ.2550)

เป้าหมายการบริการจัดการพลังงาน

 

“ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่เราใช้มากที่สุด ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ การใช้พลังงานหมุนเวียนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยสิ่งแวดล้อมและยังช่วยลดต้นทุนของบริษัทฯ ได้อีกด้วย”

คุณประสาน อุ่นวงษ์

ประธานคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน โรงงานนิคมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

 

เรามุ่งลดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง กำหนดเป้าหมายที่จะลดต่อปี 5% และนำโครงการติดตั้งโซล่าเซลล์เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดอีกด้วย”

คุณชาญชัย กฤษณีไพบูลย์

ประธานคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน โรงงานนิคมปิ่นทอง 5จังหวัดชลบุรี

 

การบริหารจัดการพลังงาน

การใช้พลังงานส่วนใหญ่จะอยู่ที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 ณ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ในขอบข่ายโรงงานควบคุมตามพระราชกฤษฎีกากำหนดโรงงานควบคุม พ.ศ.2540 เนื่องจากเป็นโรงงานที่ติดตั้งหม้อแปลงขนาด 1,500 kVAจำนวน 1 ตัว หม้อแปลงขนาด 2,000 kVA จำนวน 6 ตัว หม้อแปลงขนาด 2,500 kVA จำนวน 8 ตัว หม้อแปลงขนาด 3,000 kVA จำนวน 15 ตัว และหม้อแปลงขนาด 25,500 kVA จำนวน 1 ตัว สรุปมีหม้อแปลงไฟฟ้าติดตั้ง จำนวน 103,500 kVA

บริษัทฯ แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน ซึ่งมีคุณสมบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติ หน้าที่และจำนวนของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ.2552 โดยมีหน้าที่จัดการพลังงาน ดังนี้

1.จัดทำระบบการจัดการพลังงาน

2.รายงานการจัดการพลังงาน

3.ตรวจสอบและรับรองระบบการจัดการพลังงาน

 

ค่าการใช้พลังงานจำเพาะต่อหน่วยการผลิต

บริษัทฯ กำหนดค่าการใช้พลังงานจำเพาะฐาน (Specific Energy Consumption: SEC) โดยมีการเปรียบเทียบอัตราส่วนของปริมาณพลังงานไฟฟ้าและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในโรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและปิ่นทอง 5ต่อปริมาณการผลิตฟิล์มพลาติกในรอบปี โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC)

=ปริมาณพลังงานไฟฟ้า (กิโลวัตต์-ชั่วโมง)x3.6 (เมกะจูลต่อชั่วโมง)+ปริมาณพลังงานความร้อน (เมกะจูล)

                                      ปริมาณผลผลิต (ตัน)

 

ตารางแสดงค่าการใช้พลังงานจำเพาะ

รายการ

หน่วย

โรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

โรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5

ปริมาณพลังงานไฟฟ้า

กิโลวัตต์-ชั่วโมง

136,134,795

31,840,787

ปริมาณพลังงานความร้อน

เมกะจูล

260,821,320

213,843,225

ปริมาณผลผลิต

ตัน

102,763

43,405

ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ

เมกะจูลต่อตัน

7,307

7,568

หมายเหตุ :

1.ข้อมูลดังกล่าวได้รับการตรวจสอบจากนายบัณฑิต ไชยประณิธาน ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

2.ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้มาจากการใช้ไฟฟ้าภายในโรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและปิ่นทอง 5 เท่านั้น ไม่มีการใช้พลังงานจากภายนอกโรงงาน

 

มาตรการลดการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน

Reduction of Energy Consumption

บริษัทฯ มุ่งเน้นการลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอซซิล เนื่องจากการใช้พลังงานเป็นอันดับต้นๆ ของบริษัทฯ ดังนั้นจึงสนับสนุนพลังงานทางเลือกหรือพลังงานหมุนเวียน ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการอนุรักษ์พลังงานของหลักการScience-Based Target (The SBTi’s NET-ZERO standard)เพื่อมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2608

ผลการดำเนินงาน

โดยจะดำเนินการรายงานต่อกรมอนุรักษ์พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานเป็นประจำทุกปี ในปี 2566 การใช้พลังงานของบริษัทฯ สามารถแสดงได้ดังนี้

ตารางแสดงปริมาณการใช้พลังงานของโรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ประจำปี 2566

 

ข้อมูลการใช้พลังงาน

 เมกะจูล

A

ปริมาณการใช้พลังงานประเภทใช้แล้วหมดไป ทั้งหมด

260,821,320

 

ปริมาณการใช้พลังงานประเภทก๊าซธรรมชาติ

260,821,320

B

ปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนจากส่วนที่ผลิตได้เอง ทั้งหมด

5,083,712

 

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์

5,083,712

C

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งหมด

485,001,551

 

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า หมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า 208205633

466,435,055

 

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า หมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า 23049353

18,566,496

D

ปริมาณการขายพลังงานไฟฟ้า ทั้งหมด

-

รวมปริมาณการใช้พลังงาน ทั้งหมด (A+B+C)-D)

750,906,583

หมายเหตุ:

1.ข้อมูลเฉพาะโรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเท่านั้น

2.ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าและการใช้ก๊าซธรรมชาติ มาจากรายงานการจัดการพลังงานประจำปี 2566ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากนายบัณฑิต ไชยประณิธาน ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

3.ข้อมูลทั้งหมดได้รับการทวนสอบเบื้องต้นจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

4.ค่าการแปลงหน่วยไฟฟ้า (กิโลวัตต์ชั่วโมง) มาจากรายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2566 หน้า 228ข้อ 5

ตารางแสดงปริมาณการใช้พลังงานของโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 ประจำปี 2566

 

ข้อมูลการใช้พลังงาน

 เมกะจูล

A

ปริมาณการใช้พลังงานประเภทใช้แล้วหมดไป ทั้งหมด

213,843,225

 

ปริมาณการใช้พลังงานประเภทก๊าซธรรมชาติ

213,843,225

B

ปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนจากส่วนที่ผลิตได้เอง ทั้งหมด

1,979,816

 

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์

1,979,816

C

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งหมด

112,647,017

 

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า หมายเลขเครื่องวัดไฟฟ้า 6500202294

112,647,017

D

ปริมาณการขายพลังงานไฟฟ้า ทั้งหมด

-

รวมปริมาณการใช้พลังงาน ทั้งหมด (A+B+C)-D)

328,470,058

หมายเหตุ:

1.ข้อมูลเฉพาะโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 เท่านั้น

2.ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าและการใช้ก๊าซธรรมชาติ มาจากรายงานการจัดการพลังงานประจำปี 2566ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากนายบัณฑิต ไชยประณิธาน ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5

3.ข้อมูลทั้งหมดได้รับการทวนสอบเบื้องต้นจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

4.ค่าการแปลงหน่วยไฟฟ้า (กิโลวัตต์ชั่วโมง) มาจากรายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2566 หน้า 228ข้อ 5

 

ตารางแสดงสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าโรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

ระบบ

การใช้พลังงานไฟฟ้า

กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี

ร้อยละ

แสงสว่าง

974,079

0.72

ปรับอากาศสำนักงาน*

4,474,405

3.32

ทำความเย็น

16,948,136

12.58

การผลิต

103,881,217

77.11

อัดอากาศ

6,578,213

4.88

อื่นๆ

1,866,603

1.39

รวม

134,722,653

100.00

 
 
 
 
หมายเหตุ: ข้อมูลดังกล่าวเฉพาะพื้นที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเท่านั้นและเฉพาะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

 

ในปี 2566 บริษัทฯได้กำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน จำนวนร้อยละ 0.04 จากปริมาณการใช้พลังงานเดิม ในการดำเนินงานลดการใช้พลังงานของปี 2566 บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการใช้พลังงานเป็นที่เรียบร้อย โดยสามารถลดการใช้พลังงานได้ จำนวนร้อยละ 0.04 ผลประหยัดดังกล่าวมาจากโครงการเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ T5 28W เป็นหลอด LED 16Wสำหรับโครงการลดการใช้พลังงานในรอบปี 2566 มีรายละเอียดดังหัวข้อโครงการส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน

ตารางแสดงสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5

ระบบ

การใช้พลังงานไฟฟ้า

กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี

ร้อยละ

แสงสว่าง

170,885

0.55

ปรับอากาศสำนักงาน*

471,555

1.51

ทำความเย็น

4,167,404

13.32

การผลิต

23,403,331

74.79

อัดอากาศ

1,104,461

3.53

อื่นๆ

1,973,203

6.31

รวม

31,290,838

100.00

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ: ข้อมูลดังกล่าวเฉพาะพื้นที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 เท่านั้นและเฉพาะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

ในปี 2566 บริษัทฯได้กำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน จำนวนร้อยละ 0.82 จากปริมาณการใช้พลังงานเดิม ในการดำเนินงานลดการใช้พลังงานของปี 2566 บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการใช้พลังงานเป็นที่เรียบร้อย โดยสามารถลดการใช้พลังงานได้ จำนวนร้อยละ 0.82 ผลประหยัดดังกล่าวมาจากโครงการติดตั้ง Skylight เพื่อลดการเปิดโคมไฟ สำหรับโครงการลดการใช้พลังงานในรอบปี 2566 มีรายละเอียดดังหัวข้อโครงการส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน

 

โครงการส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน

1.โครงการเครื่องจักรผลิตไลน์การผลิต BOPP ที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 

เครื่องจักรใหม่สายการผลิต BOPP ที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5โดยเครื่องจักรสามารถผลิตฟิล์มพลาสติกต่อชั่วโมงได้มากกว่า ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ถึงร้อยละ 40 และมีความเร็วสูงสุดได้ถึง 600 เมตรต่อนาที โดยกำลังการผลิตทั้งหมดเท่ากับ 50,000 ตันต่อปี และปี 2566 สามารถลดการใช้พลังงานได้เท่ากับ 17.5 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ซึ่งช่วยลดค่าไฟฟ้าไปได้ถึง 91 ล้านบาท และยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 8,748 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

2.โครงการติดตามการดำเนินการ Solar Cell ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง

โครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ ที๋โรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ขนาดกำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ ขนาดกำลังผลิตต่อแผง 540 วัตต์ จำนวนทั้งหมด 1,851 แผง โดยใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาท และปี 2566 สามารถลดการใช้ฟ้าเท่ากับ 1.4 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ซึ่งช่วยลดค่าไฟฟ้าไปได้ถึง 7 ล้านบาท และยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 706ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

3.โครงการติดตั้ง Solar Cell ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 4 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง

โครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ ที๋โรงงานนิคมอุตสาหกรรมปื่นทอง 5  จังหวัดชลบุรี ขนาดกำลังผลิต 3.6 เมกะวัตต์ ขนาดกำลังผลิตต่อแผง 7,410 แผง บริษัทฯ คาดว่าจะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้จำนวน 5.61 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และสามารถลดต้นทุนได้ 29 ล้านบาทต่อปี และยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 2,799 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

บริษัทฯ มีแนวคิดในการนำโครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาด 4 เมกะวัตต์เข้าร่วมการขอการรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ในหมวดโครงการด้านพลังงาน (ENERGY) ระเบียบวิธีการพัฒนาพลังงานทางเลือกการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (AE) เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการดังกล่าวลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม

4.โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า

บริษัทฯ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศ การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้า บริษัทมีการพิจารณาการเลือกการใช้ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

ในปี 2566บริษัทฯ เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟ้าประเภท LED ภายในพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง จำนวน 819 หลอด สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงจำนวน 88,604 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ซึ่งช่วยลดค่าไฟฟ้าไปได้ถึง 383,448 บาท และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 44ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

5.โครงการติดตั้งหลังคากระจก (Skylight) 

บริษัทฯ ดำเนินการติดตั้งหลังคากระจกในโรงงานนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 เพื่อลดการเปิดใช้โคมไฟ ซึ่งผลการดำเนินปี 2566 สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง 27,200 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ซึ่งช่วยลดค่าไฟฟ้าไปได้ถึง 126,132 บาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 14 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

6.แนวคิดในการเลือกใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

บริษัทฯ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตฟิล์มพลาสติกเป็นจำนวนมาก ในการใช้ไฟฟ้าที่พื้นที่โรงงานแหลมฉบัง บริษัทฯ มีการซื้อไฟฟ้าจากทั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและจากหน่วยงานเอกชน ทั้งนี้ ค่าการแปลงหน่วยไฟฟ้าเป็นปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ หรือค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของแหล่งไฟฟ้าทั้งสองแหล่งมีอัตราที่แตกต่างกัน

บริษัทฯ มีแนวคิดในการเลือกซื้อไฟฟ้าจากผู้ขายที่เป็นผู้ผลิตคาร์บอนฟรุตพริ้นต่ำ หรือ low-carbon-footprint suppliers ก่อน มีการปล่อยก๊าซเรือกกระจกต่ำกว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวคิดการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือเลือกซื้อไฟฟ้าจากผู้ขายที่ได้รับการรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates : RECs) ที่ได้รับการรับรองสิทธิ์ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยมี The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นหน่วยงานรับรอง มาใช้แทนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากชีวมวล อาทิ ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ และน้ำมันดิบ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัทฯ และของประเทศ หรือ Nationally Determined Contribution  ที่มุ่งเป้าให้ประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 30-40 จากกรณีปกติ

โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่ระดับสากล

บริษัทฯ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบตามระบบการจัดการเศรษฐกิจ หมุนเวียน สําหรับองค์กร เล่ม 2 ข้อกําหนด (Circular Economy Management System For Organization Part 2: Requirementsรวมทั้ง ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products : CFP) ของฟิล์มบีโอพีอีที ชนิดใสธรรมดา (Plain BOPET Film)

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ที่มีสวนผสมของวัตถุดิบรีไซเคิลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามการรับรองมาตรฐานการรีไซเคิลระดับทั่วโลกในผลิตภัณฑ์ Global Recycled Standard: GRS)

ในปี 2566บริษัทฯ สามารถลดปริมาณการใช้วัตถุดิบจากแหล่งฟอซซิลได้ 14,142 ตัน และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 24,104 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

 

ภาพแสดงการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ในรอบปี 2566