การบริหารจัดการของเสีย

 

การบริหารจัดการของเสียเป็นประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคััญ เนื่องจากบริษัทฯ ตระหนักว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มีส่วนอาจก่อให้เกิดขยะจากการบริโภคและอุปโภค และการจััดการของเสีียด้้วยวิิธีีการที่่ไม่่เหมาะสมจะก่่อให้้เกิิดผลกระทบต่่อสิ่งแวดล้้อม จึงมุ่งเน้นตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบ ลดของเสียจากกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับของผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ สู่มาตรฐานระดับประเทศและมุ่งเน้นให้ตอบโจทย์มาตรฐานสากล ตามแนวทางบริหารจัดการขยะของบริษัทเพื่อตอบสนองเป้าหมายความยั่งยืน โดยเฉพาะการสนับสนุนเป้าหมายที่ 11 ในด้านลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการจัดการของเสีย และเป้าหมายที่ 12 การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียโดยกระบวนการ 5Rs (Refuse, Reduce, Reuse, Recycle และ Renewable)สอดคล้องแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

แนวทางการบริหารจัดการของเสีย

บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการของเสีย รวมถึงคำนึงผลกระทบของชุมชนที่อยู่โดยรอบ เพื่่อป้องกันผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจอย่างรอบด้าน โดยผ่านการบริการจัดการครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล และดำเนินการตามนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้คณะกรรมการปฏิบัติงานบรรษัทภิบาลและการพัฒนาความยั่งยืนดำเนินการ และส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการของเสียผ่านโครงการต่าง ๆ ในการควบคุมการจัดการของเสียเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีนวัตกรรมในการผลิตฟิล์มพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2 ผลิตภัณฑ์ ที่ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบหมุนเวียน ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าสูงสุด คือ ฟิล์มพลาสติกจากวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือ Post-Consumer Recycled Film (PCR Film) และฟิล์มพลาสติกจากวัสดุเหลือจากกระบวนการผลิตภายในบริษัทฯ หรือ Post-Industrial Recycled Film(PIR Film)ซึ่งสามารถลดปริมาณของเสียของบริษัทฯ และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

เป้าหมายการบริหารจัดการขยะและผลการดำเนินงาน ประจำปี 2566

รายละเอียด

เป้าหมายการดำเนินงานปี2566

ผลการดำเนินงานปี2566

เป้าหมาย

ปี 2567

เป้าหมายระยะยาว ปี 2568

ปริมาณ (ตัน)

ร้อยละ

อัตราการใช้เม็ดพลาสติกจากวัตถุดิบรีไซเคิลและวัสดุธรรมชาติ

20%

58,691

40 %

20%

-

การลดปริมาณของเสียทั่วไปที่ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ

50%

121

เพิ่มขึ้น 100%

≤ 25 ตัน/เดือน

80%

การลดปริมาณของเสียอันตราย

10%

236

เพิ่มขึ้น 18%

≤ 60 ตัน/เดือน

-

จำนวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

1 ผลิตภัณฑ์ใหม่

14 ผลิตภัณฑ์ต่อปี

1 ผลิตภัณฑ์ใหม่

-


 

ในปี 2566 พบว่าบริษัทฯ มีอัตราการใช้เม็ดพลาสติกจากวัตถุดิบรีไซเคิลและวัสดุธรรมชาติเท่ากับ 58,691 ตัน คิดเป็นร้อยละ 40  นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีปริมาณของเสียทั่วไปและปริมาณขยะอันตรายที่ต้องนำไปกำจัดเท่ากับ 121 และ 236 ตัน  ซึ่งผลการดำเนินการเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 100 และ 18 เนื่องจากมีการขยายฐานการผลิตของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 ส่งผลให้มีปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนหน้า ซึ่งจากผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่าอัตราการใช้เม็ดพลาสติกจากวัตถุดิบรีไซเคิลและวัสดุธรรมชาติ  การลดปริมาณของเสียทั่วไปที่ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ และการลดปริมาณของเสียอันตราย ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายปี 2566 ที่ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวนทั้งสิ้น 14 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งบรรุลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

โครงการการบริหารจัดการขยะ

โครงการรีไซเคิลเศษพลาสติกโดยตรง (Direct Flake Dosing: DFD)

บริษัทฯ จัดทำโครงการรีไซเคิลเศษพลาสติกโดยตรง สามารถลดกระบวนการนำเศษพลาสติกไปหลอมและลดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถลดการใช้วัตถุดิบจากฟอสซิลได้ 723.75  ตันและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง 217,125  Kwh คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 109  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการพัฒนาเม็ดพลาสติกจากวัตถุดิบจากกระบวนการผลิตร่วมกับคู่ค้า

บริษัทฯคำนึงถึงหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน และหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งนำของเหลือจากกระบวนการผลิต ส่งให้กับทางคู่ค้า และทางคู่ค้าจะดำเนินการผลิตเม็ดพลาสติกส่งกลับมาให้ เพื่อนำมาใช้ผลิตฟิล์มพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถลดการใช้วัตถุดิบจากฟอสซิลได้ 1,158.85  ตัน คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 2,180  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการหมุนเวียนการใช้วัสดุสำหรับบรรจุสินค้า

โครงการหมุนเวียนพาเลท

บริษัทฯ รับคืนพาเลทไม้และพลาสติกเพื่อใช้หมุนเวียน โดยพาเลทไม้ที่ชำรุดจะถูกนำไปซ่อมแซมและนำกลับไปใช้อีกครั้ง ช่วยลดปริมาณขยะที่ถูกนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบ  212.82 ตัน หรือร้อยละ 1000 และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 12.7 ล้านบาท คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 19 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการหมุนเวียนไม้ประกบข้าง

บริษัทฯ รับคืนไม้ประกบข้างเพื่อใช้หมุนเวียน ช่วยลดปริมาณในการนำไปกำจัดลง 1,218 ตัน หรือร้อยละ 11และสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย 125ล้านบาท คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 468ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการหมุนเวียนกรวยพลาสติก

บริษัทฯ รับคืนกรวยพลาสติกคืนจากลูกค้าและนำมาใช้หมุนเวียน ช่วยลดการนำไปกำจัดลง 13 ตัน หรือร้อยละ 100และสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย 29.9ล้านบาท คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 44ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า