BIODIVERSITY

ความหลากหลายทางชีวภาพ

 

บริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพบนโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอันดับแรก เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ สร้างสมดุลนิเวศเชิงบวก(Net Positive Impact) หรือไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ (No Net Loss)  เพื่อดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงต้องมีการดำเนินการลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและฟื้นฟูผลกระทบให้กลับสภาพเดิมได้โดยเร็ว 

บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าความยั่งยืนเป็นการรักษาสมดุลในการดำเนินธุรกิจของทั้ง 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการดำเนินกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง อาจส่งผลกระทบต่อการบริการของระบบนิเวศ (Ecosystem Service) และความสูญเสียต่อหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบในการปกป้องและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ผ่านการกำกับดูแลที่เพียงพอและเหมาะสม รวมทั้งการบริหารจัดการอย่างมีความรับผิดชอบ

โอกาสและความท้าทาย

ในฐานะที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์ บริษัทฯ เผชิญหน้ากับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมหลากหลายประการ ทั้งการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ การกำจัดซากและการย่อยสลายของบรรจุภัณฑ์หลังจากการใช้งานเสร็จสิ้น ซึ่งล้วนมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างยิ่ง บริษัทฯ จึงปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง ใช้พลังงานต่ำ และใช้พลังงานหมุนเวียน อาทิ โครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา นอกจากนี้ยังศึกษาแนวโน้มและผลกระทบของการใช้บรรจุภัณฑ์และคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอทางเลือกที่เหมาะสมแก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีประเมินผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ดังต่อไปนี้

การประเมินผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพ

หลังการประเมินผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่าผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า มาจาก 2 ส่วน ดังนี้

1.กิจกรรมจากการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากปิโตรเคมี

2.การขยายฐานการผลิต ได้แก่ การก่อตั้งโรงงานใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการเพิ่มสายการผลิต

 

การกำหนดให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในสาระสำคัญของบริษัทฯ

ในปี 2566 บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอย่างความยั่งยืนโดยเล็งเห็นว่า ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ และการลงทุนขยายฐานการผลิตของบริษัทฯ จะต้องไม่สร้างผลกระทบต่อความหลายทางชีวภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

แนวทางบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

1.การกำกับและดูแลการดำเนินธุรกิจกับความหลากหลายทางชีวภาพ

2.กลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

การสนับสนุนการผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด

ในปี 2566 บริษัทฯ สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุดบริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยสนับสนุนการรักษาไว้ซึ่งความหลายหลายทางชีวภาพ โดยจะนำเสนอและสนับสนุนฟิล์มพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับลูกค้า ทั้งยังสื่อสารข้อดีของการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแก่ลูกค้า ทั้งนี้ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติบางส่วน ซึ่งรายละเอียดสามารถศึกษาได้ที่ หัวข้อ CIRCULAR ECONOMY: เศรษฐกิจหมุนเวียน 

นอกจากนี้ บริษัทฯ  ยังพัฒนาฟิล์มพลาสติก Post-Consumer Recycled Resin (PCR) เป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว นำเข้าสู่กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ และ Post-Industrial Recycled Resin (PIR)เป็นกระบวนการผลิตที่มุ่งมั่นในการลดของเหลือจากกระบวนการผลิต หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการรวบรวมเศษพลาสติกเหลือจากกระบวนการผลิต หลอมรวมมาผลิตเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นกระบวนการลดการใช้วัตถุดิบลง และยังสามารถลดปริมาณของขยะที่อาจถูกนำไปสู่การฝังกลบ

การขยายกิจการในพื้นที่ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

บริษัทฯ หลีกเลี่ยงการขยายกิจการในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และยังมีการจัดพื้นที่สีเขียวในโรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและปิ่นทอง 5 เท่าร้อยละ 14 และ 5  ตามลำดับ โดยพื้นที่สีเขียวในโรงงานให้ความร่มรื่นแก่พนักงาน และยังเป็นสถานที่พักผ่อนจากการทำงานให้กับพนักงาน กรณีที่มีการขยายกิจการ บริษัทฯ จะต้องพิจารณาหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เข้าไปประกอบกิจการว่าเข้าข่ายพื้นที่ที่ตาม IUCN ทั้ง 6 พื้นที่ (IUCN protected areas)รายละเอียดตามตารางด้านล่าง

ในปี 2566 บริษัทฯ มีการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งมีกำลังการผลิตฟิล์ม BOPP สายการผลิตที่ 7 เท่ากับ 50,000 ตันต่อปี  และ BOPET สายการผลิตที่ 5 เท่ากับ 45,000 ตันต่อปี ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวไม่จัดอยู่ในขอบเขตพื้นที่ทั้ง 6 รายการตาม IUCN

การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการก่อสร้างที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการระบายน้ำทิ้งของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีการก่อสร้างคำนึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางบริษัทได้มีการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

  • ควบคุมความดังของเสียง การสั่นสะเทือน ในกระบวนการผลิต
  • ควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศ
  • ควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต
  • ควบคุมและบริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมให้เกิดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

ข้อมูลพื้นฐานโรงงาน เอ.เจ. พลาสท์ จำกัด(มหาชน) ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 5


 

ช่องทางติดต่อ

หากมีข้อเสนอแนะหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถส่งอีเมลที่ Sustain@ajplast.co.th
กรณีมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพหรือการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สามารถแจ้งได้ที่ whistleblowing@ajplast.co.th
 

โครงการเพื่อลดผลกระทบความหลากหลายทางชีวภาพ

บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการรักษ์ต้นไม้ ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกป่าชายเลนเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ณ ป่าชายเลนบ้านแหลมฉบัง ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งโครงการมีการปลูกต้นไม้จำนวนทั้งสิ้น 200 ต้น และยังให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ของการปลูกป่าชายเลน บริษัทฯ ยังคงมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง