การบริหารจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม

            

บริษัทฯ  ตระหนักว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินการ ทั้งจากกระบวนการผลิต การใช้ทรัพยากร ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ การใช้พลังงาน ก่อให้เกิดขยะ ของเหลือทิ้ง และผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบให้ลูกค้า ตลอดจนการขนส่งถึงลูกค้า จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการบริหารสิ่งที่เกิดขึ้นและปล่อยออกจากพื้นที่บริษัทฯ นอกจากนี้ ยังตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและระบบนิเวศท้องถิ่น รวมถึงอิทธิพลที่สภาพแวดล้อม มีต่อการใช้ชีวิตของทุกคนในสังคมเพื่อให้้มั่นใจได้ว่าธุรกิจจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญและคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ ให้การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ผลักดันการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่ท้องตลาด และ ส่งเสริมให้เกิดแรงผลักดันด้านสังคมเพื่อให้เกิดความสนใจในด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนี้

1. การปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดต่างๆ รวมถึงพันธะสัญญาที่บริษัทฯ เกี่ยวข้อง

2. การป้องกันมลพิษที่เกิดจากการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในการผลิต และกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

3. การปกป้องสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4. ปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม

5. ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำหลักการแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้

6. การปลูกฝังวัฒนธรรมเกี่ยวกับสิ่งแวล้อมภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยการผลักดันให้มีการอบรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี การนำเสนอ ส่งเสริม ให้ความร่วมมือและพัฒนาเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑืเพื่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้มีส่วนได้เสีย และโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

เป้าหมายด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม

 

บริษัทฯ มีการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว สอดคล้องตามนโยบายสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเด็นสาระสำคัญของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการด้านขยะและของเสีย ด้านพลังงาน การบริหารจัดการน้ำ และการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่บริษัทฯ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญ

 

 

เป้าหมายด้านมลพิษทางอากาศ

สอดคล้องตามเป้าหมายของระบบมาตรฐาน ISO 14001:2015ของบริษัทฯ โดยกำหนดให้มีการตรวจวัดค่าฝุ่นละออง (Particulate Matter) คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) ก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Dioxide) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน

 

เป้าหมายแสง เสียง ความร้อนและสารเคมี

 

การบริหารจัดการด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการด้านมลพิษทางอากาศ

บริษัทฯ บริหารจัดการด้านมลพิษทางอากาศ โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในพื้นที่และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณภาพอากาศที่ได้ตรวจวัดไปนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2549 โดยบริษัทฯ มีการตรวจวัดมลพิษในพื้นที่โรงงาน ได้แก่ ค่าฝุ่นละออง (Particulate Matter) คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) ก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Dioxide) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) เป็นต้น

การบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมในการทำงาน

การควบคุมสภาวะแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ระดับความร้อน แสงสว่าง เสียง หรือสารเคมี ในพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการจัดการรองรับในภาวะฉุกเฉินอย่างครบถ้วน รวมถึง การซ้อมแผนฉุกเฉินเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

-การบริหารจัดการแสง

บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายในการควบคุมคุณภาพแสงสว่างในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง 2561 รวมทั้งดำเนินแก้ไขและปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

-การบริหารจัดการเสียง

บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายในการควบคุมค่าระดับเสียงในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐาน ระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานในแต่ละวัน พ.ศ. 2561 รวมทั้งมีการจัดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานและจัดอบรมให้ทราบถึงอันตรายจากการได้รับเสียงดัง

-การบริหารจัดการความร้อน

บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายในการควบคุมระดับความร้อนในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 โดยแบ่งตามลักษณะงาน คือ งานเบา งานปานกลาง และงานหนัก  อีกทั้งมีการจัดชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่

-การบริหารจัดการสารเคมี

บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายในการควบคุมปริมาณสารเคมีในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2560 และมาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งมีการจัดชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่

ผลการดำเนินงานด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม

ผลการดำเนินงานด้านมลพิษทางอากาศ

บริษัทฯ ได้ดำเนินการเน้นการผลิตที่มีคุณภาพควบคู่กับการตระหนักถึงการประเมินการสัมผัสสภาพแวดล้อมในการทำงานและการเฝ้าระวังการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม จึงได้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเกินกว่ากฎหมายกำหนด

บริษัทฯ ตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพอากาศจากปล่องระบายอากาศ โดยมีรายการตรวจวัด ได้แก่ ฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide)  ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxide of Nitrogen) และ คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) โดยแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ ดังนี้

 

ตารางแสดงการตรวจวัดวิเคราะห์คุณภาพอากาศปลายปล่อย ประจำปี 2566

รายการตรวจวัด

หน่วย

มาตรฐาน

Boiler Stack

 No.5 B3

 No.9 BOPET

No.10 B5 B6

No.11 BOPA

ฝุ่นละอองรวม

mg/m3

320

9.9

1.2

1.9

1.6

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ppm

60

<1.3

<1.3

<1.3

<1.3

ออกไซด์ของไนโตรเจน

ppm

200

34.1

1.5

28.2

23.3

คาร์บอนมอนออกไซด์

ppm

690

<0.04

<0.04

<0.04

<0.04

หมายเหตุ:

1.ที่มารายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพจากปล่องอากาศ วันที่ 3 เมษายน 2566 โดยบริษัท วีแคร์ เอ็นไวรอนแมนท์ เซอร์วิส จำกัด

2.ข้อมูลเฉพาะพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง

ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการแสง

บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพแสงสว่างในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ โดยมีแบ่งตามการใช้สายตาคือ งานหยาบและงานละเอียดเท่ากับหรือมากกว่า 200-300 และ 400-500 Lux ตามลำดับตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง 2561 โดยสามารถแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ได้ดังนี้

ตารางแสดงการตรวจวัดคุณภาพระดับความเข้มแสงประจำปี 2566

ประเภทงาน

จำนวนจุดตรวจวัด

ผลการตรวจวัดเฉลี่ย (Lux)

มาตรฐาน (Lux)

งานหยาบ

11

118.7

≥200-300

งานละเอียดเล็กน้อย

30

212.8

≥400-500

 

 

 

 

 

หมายเหตุ:

1.ที่มารายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพจากปล่องอากาศ วันที่ 3 เมษายน 2566 โดยบริษัท วีแคร์ เอ็นไวรอนแมนท์ เซอร์วิส จำกัด

2.ข้อมูลเฉพาะพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง

โดยปี  2566 พบว่าคุณภาพแสงสว่างบางพื้นที่มีค่าไม่สอดคล้องตามมาตรฐานกำหนด ซึ่งพบว่าประเภทงานหยาบและงานละเอียดเล็กน้อยมีทั้งหมด 11 และ 30 จุด ตามลำดับ และค่าความสว่างเฉลี่ยสูงสุดในพื้นที่ประเภทงานหยาบและงานละเอียด เท่ากับ 118.7 และ 212.8 Lux ที่ไม่สอดคล้องตามมาตรฐานฯ บริษัทฯ จึงดำเนินการเพิ่มจำนวนหลอดไฟจำนวน 819 ดวง และทำความสะอาดแหล่งกำเนิดแสงสว่างในพื้นที่ฝ่ายผลิตและพื้นที่สำนักงาน เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานฯ

 

ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการเสียง

บริษัทฯ ดำเนินการตรวจวัดค่าระดับความดังเสียงในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ โดยค่าระดับเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมงไม่เกิน 85 เดซิเบล และค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ  ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐาน ระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานในแต่ละวัน พ.ศ. 2561 โดยสามารถแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ได้ดังนี้

ตารางแสดงการตรวจวัดคุณภาพระดับความดังเสียง ประจำปี 2566

จำนวนจุดตรวจวัด

หน่วย

ผลการตรวจวัดLeq8 hrsเฉลี่ย (dBA)

ค่ามาตรฐาน

23

dBA

85.83

≤85

หมายเหตุ:

1.ที่มารายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพจากปล่องอากาศ วันที่ 3 เมษายน 2566 โดยบริษัท วีแคร์ เอ็นไวรอนแมนท์ เซอร์วิส จำกัด

2.ข้อมูลเฉพาะพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง

โดยปี 2566 พบว่าคุณภาพเสียงไม่สอดคล้องตามมาตรฐานเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยตรวจวัดค่าระดับเสียงเฉลี่ยทั้งหมด 23 จุด และมีค่าระดับความดังเสียงเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 85.83 เดซิเบลเอ ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินการบริหารจัดการ รวมทั้งควบคุมคุณภาพเสียงอย่างเข้มงวด ด้วยโครงการอนุรักษ์การได้ยินและควบคุมเสียง ดังนี้

(1) กำหนดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่จำเป็นในการสวมใส่ก่อนเข้าสู่ส่วนกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับเสียงสูง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่อุดหู (Earplug) ช่วยลดระดับเสียงและป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อการได้ยินของพนักงาน

(2) ปลูกฝังวัฒนธรรมการคำนึงถึงการควบคุมคุณภาพเสียงและอันตรายที่อาจเกิดจากเสียงดังให้แก่พนักงานทุกระดับ โดยจัดทำป้ายเตือนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่จำเป็นในการสวมใส่ก่อนเข้าสู่ส่วนกระบวนการผลิต และได้รับการอบรมเกี่ยวกับอันตรายจากเสียงดัง และวิธีปฏิบัติงานและการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างเหมาะสม

ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความร้อน

บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจวัดระดับความร้อนในทุกพื้นที่ของบริษัทฯ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559 โดยแบ่งตามลักษณะงาน คือ งานเบา และงานปานกลาง มีค่าเท่ากับ 0-200 และ 201-350 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง ตามลำดับ โดยสามารถแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ได้ดังนี้

ตารางแสดงการตรวจวัดคุณภาพระดับความร้อน ประจำปี 2566

ประเภทงาน

จำนวนจุดตรวจวัด

อุณหภูมิ

(°C)

Workload (kcal/hr)

มาตรฐาน

Workload (kcal/hr)

อุณหภูมิ

(°C)

งานเบา

7

34.31

179.29

0-200

≤34

งานปานกลาง

16

29.66

253.75

201-350

≤32

หมายเหตุ:

1.ที่มารายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพจากปล่องอากาศ วันที่ 3 เมษายน 2566 โดยบริษัท วีแคร์ เอ็นไวรอนแมนท์ เซอร์วิส จำกัด

2.ข้อมูลเฉพาะพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง

โดย ปี 2566 พบว่าค่าระดับความร้อนตามประเภทงานเบาและงานปานกลางเท่ากับ 7 และ 16 จุด และมีค่าระดับความร้อนเฉลี่ยในงานประเภทงานเบาและงานปานกลางเท่ากับ 179.29 และ 253.75 กิโลแคลอรี่ต่อชั่วโมง ซึ่งสอดคล้องตามาตรฐาน

โครงการหรือกิจกรรมด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ

จากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ พบว่า ค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องตามกฏหมายในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ แสงสว่าง และเสียง ทั้งนี้บริษัทฯ ยังเปิดรับเบาะแสและข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ในปี 2566 พบว่าไม่มีข้อร้องเรียนใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านมลพิษทางอากาศและสภาวะแวดล้อมในการทำงาน และบริษัทฯ จะมุ่งเน้นในการผลิตฟิล์มพลาสติกที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

1.การสำรวจและพิจารณาจุดที่ต้องมีการตรวจวัดมลพิษทางอากาศเพิ่มเติม 

บริษัทฯ ได้ดำเนินการพิจารณาสำรวจจุดที่เกิดมลพิษภายในโรงงาน และพิจารณาจุดที่ต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมร่วมกับบริษัทรับตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อครอบคลุมจุดที่คาดว่าจะมีการปล่อยมลพิษทางอากาศและมีการตรวจสอบซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบต่อพนักงานหรือสภาพแวดล้อมรอบ ๆ และชุมชนใกล้เคียงกับบริษัทฯ

2.โครงการอนุรักษ์การได้ยิน

บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดป้ายจุดที่มีเสียงดัง ซึ่งต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ขณะทำงานตลอดเวลาในจุดที่มีเสียงดัง และจัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวเสียงดังและการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจได้รับจากการสัมผัสเสียงดังขณะปฏิบัติงานรายละเอียดเพิ่มเติมที่หัวข้อ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า

บริษัทฯ ดำเนินการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟ้าประเภท LED ภายในพื้นที่โรงงานแหลมฉบัง รายละเอียดเพิ่มเติมที่หัวข้อ การบริหารจัดการพลังงาน